วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

Alien Species


 Alien Species คือ?


Alien Species คือ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานไม่ใช่เอเลี่ยนที่อยู่ในภาพยนตร์แต่มันมาเพื่อ รุกรานเหมือนกัน กำลังถูกพูดถึงบ่อยมากในระยะหลัง ตั้งแต่พบการแพร่ระบาดของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในจำนวนมากจนน่าตกใจ ซึ่งผลทำให้สิ่งมีชีวิตในท้องถื่นลดจำนวนลงเกือบสูญพันธุ์ ปัญหาดังกล่าวสร้างความวิตกให้คนทั่วโลก แม้แต่ประเทศไทยที่ขึ้นชื่อเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ แต่หากปล่อยให้ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานต่อไป เกรงว่าจะเป็นภัยคุกคามต่อสิ่งมีชีวิตในประเทศได้ในเวลาไม่นาน



หลายคนยังคงมีความสงสัยเกี่ยวกับว่าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นคืออะไร ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานคืออะไร เมื่อทำการศึกษาค้นคว้าก็พบว่า ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (Introduced species or Exotic species) คือ ชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยปรากฎในเขตชีวภูมิศาสตร์หนึ่งมาก่อน แต่ถูกนำมาแพร่กระจายมาจากที่อื่นด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง และสามารถดำรงชีวิต สืบพันธุ์ได้ในพื้นทีนั้น



ส่วน”เอเลี่ยนสปีชีย์ “(Invasive species or Alien species) คือ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นฐานและสามารถยึดครองจนเป็นชนิดเด่นในพื้นที่ และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสุขอนามัยของประชาชนด้วยหากไม่มีการควบคุมและจัดการอย่างเหมาะสม




ชนิด พันธุ์ต่างถิ่นแต่ละชนิดมีถิ่นอาศัยที่มีความเฉพาะตัวในด้านการกระจายทาง ภูมิศาสตร์ ซึ่งการแพร่กระจายของมันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร สภาพภูมิประเทศและสิ่งที่อยู่แวดล้อมต่างๆ ที่ได้ปรับตัวให้เหมาะสมแล้ว ซึ่งเวลาในการปรับตัวอาจจะใช้เวลานานนับพันปีขึ้นไป แต่เมื่อไรที่มีการนำเอาสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆออกมาจากถิ่นที่อยู่อาศัยเดิม ของมัน และนำไปปล่อยยังพื้นที่อื่นที่ไม่เคยมีสัตว์ชนิดนั้นมาก่อน สิ่งมีชีวิตนั้นก็จะกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นซึ่งอาจจะมีผลกับการเป็นอยู่ ของตัวมันเองเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ผิดไปจากเดิม หรืออาจมีผลกับแหล่งน้ำหรือสิ่งมีชีวิตเดิมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น

ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ



1) ประเภทที่ไม่รุกราน ชนิด พันธุ์ที่ไม่มีผลกระทบต่อสิง่มีชีวิตอื่นๆ หรือระบบนิเวศโดยตรงหรือชัดเจนนัก ดำรงชีวิตแบบไม่แข่งขันหรือขัดต่อต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตท้องถิ่นหรือ สมดุลของนิเวศ ตัวอย่างเช่น ปลานิล ปลาไน และปลาจีน รวมถึงปลาเศรษฐกิจต่างๆที่มีการปล่อยลงแหล่งน้ำ ส่วนอีกประเภทคือ




2) ประเภทที่รุกราน เป็นชนิดที่แพร่พันธุ์ได้รวดเร็วและมีความสามารถในการปรับตัวแข่งขันแทนที่ ชนิดพันธุ์พื้นเมืองได้ดี และยังมีการดำรงชีวิตที่ขัดขวางหรือกระทบต่อสมดุลนิเวศทำให้เกิดการเปลี่ยน แปลงองค์ประกอบชนิดพื้นเมือง หรืออาจเป็นศัตรูต่อผลผลิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางเกษตรได้ ตัวอย่างเช่น ปลากดเกราะ ปลาดุกแอฟริกัน(ปลาดุกรัสเซีย) และหอยเชอร์รี่



สิ่ง มีชีวิตต่างถิ่นที่มีการแพร่กระจายมากที่สุดคือสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์น้ำ การที่สัตว์ต่างถิ่นจะเข้าไปอาศัยในธรรมชาติได้นั้นเกิดจากการกระทำของ มนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้ 2 วิธีใหญ่ๆคือ โดยไม่ตั้งใจ เช่นการหลุดหนีจากที่เลี้ยง อุบัติเหตุขณะขนส่ง และภัยธรรมชาติจนทำให้ที่เลี้ยงพังทลาย ส่วนโดยตั้งใจ เป็นการปล่อยเพื่อวัตถุประสงค์ของมนุษย์โดยตรง เช่น เพื่อการทำบุญตามความเชื่อ ปล่อยทิ้งเนื่องจากเบื่อที่จะเลี้ยง หรือประสบปัญหาขาดทุนในการเพาะเพื่อการค้า การปล่อยทิ้งเพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุมจากเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะสัตว์น้ำที่นำ เข้าและครอบครองอย่างผิดกฏหมาย การปล่อยโดยหน่วยงานราชการเองเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการเพิ่มผลผลิตแหล่งน้ำ ในธรรมชาติและที่ถูกสร้างขึ้น หรือการปล่อยตามพิธีการและโครงการต่างๆ



ใน ปัจจุบันได้มีการนำเข้าสัตว์และพืชต่างถิ่นเข้ามาเพาะเลี้ยงในประเทศไทยมาก มายหลากหลายชนิด บางชนิดนำเข้ามาเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านอาหาร บางชนิดนำเข้ามาเพื่อใช้ในด้านการสันทนาการ และเมื่อเลิกเลี้ยงหรือโดยอุบัติเหตุก็มักหลุดกระจายไปไปยังแหล่งน้ำ ป่าบริเวณใกล้เคียงทำให้ปะปนกับสิ่งมีชีวิตพื้นเมืองในธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรและระบบนิเวศของประเทศ


จากการสำรวจของนักวิชาการพบว่าสัตว์ต่างถิ่นที่พบในเมืองไทยมีสัตว์ต่างถิ่น มากกว่า 3500 ชนิด ส่วนมากจะเป็นสัตว์น้ำ และพืชต่างถิ่นมี 14 ชนิด โดยมี 7 ชนิดอยู่ในบัญชีของพืชต่างถิ่นที่ร้ายแรงของโลกประกอบด้วย ผักตบชวา ไมยราบยักษ์ หญ้าคา อ้อ ขี้ไก่ย่าน ผกากรอง และกระถิ่นยักษ์



เมื่อ สัตว์ต่างถิ่นหลุดเข้าไปอยู่ในถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติจะส่งผลกระทบทั้ง ทางตรงและทางอ้อม ผลกระทบทางตรงเป็นผลกระทบเห็นได้ชัดเจนและรุนแรงในระยะเวลาอันสั้น จากการแพร่พันธุ์สร้างประชากรอย่างรวดเร็วและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม สร้างผลกระทบต่อสมดุลนิเวศ ได้แก่



-เป็นผู้ล่าต่อสัตว์พื้นเมืองเดิม (Predator) มักเป็นสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่หรือมีการรวมฝูง ทำให้จำนวนชนิดเปลี่ยนแปลงและก่อผลเสียต่อสมดุลนิเวศในภายหลัง เช่น ปลาดุกรัสเซีย



-เป็นตัวแก่งแย่ง (Competitor) โดยเป็นผู้แก่งแย่งถิ่นที่อยู่อาศัย อาหารและพื้นที่สืบพันธุ์ ทำให้ชนิดที่อ่อนไหวสูญพันธุ์ไปจากพื้นที่ เช่น ปลานิล ปลาPeacock Bass ปลาหมอบลัตเตอร์




-นำโรคหรือปรสิต (Disease and parasite carrier) สัตว์บางชนิดมีโรคหรือปรสิตเดิมที่มันสามารถทนทานได้ดีอยู่แล้ว แต่สัตว์พื้นเมีองไม่มีความต้านทานดังกล่าว เมื่อเข้าไปอยู่อาศัยอาจทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคระบาดและปรสิตได้ เช่น ปลาจีนเป็นพาหะนำโรคหนอนสมอและราปุยฝ้าย หอยเชอร์รี่เป็นพาหะกลาง (Intermediate Host) ของพยาธิ Angiostoma มาสู่มนุษย์



-รบกวนหรือทำลายสภาพนิเวศ (Habitat Disturbance) สัตว์บางชนิดเป็นผู้ล่าหรือผู้ถูกล่า เมื่อองค์ประกอบระหว่างผู้ล่าและผู้ถูกล่าเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการเพิ่ม เข้ามาของสัตว์ต่างถิ่น สมดุลทางนิเวศวิทยาก็เกิดการเปลี่ยนแปลงส่งผลระยะยาว ตัวอย่างเช่นหอยเชอร์รี่ที่กัดกินต้น ใบอ่อนจนหมดและเกิดการเปลี่ยนสังคมพืชในแหล่งน้ำทำให้ความหลากหลายของสัตว์ น้ำลดลงในเวลาต่อมา



-ก่อการเสื่อมทางพันธุกรรม (Genetic pollution, Erosion) สัตว์ ต่างถิ่นบางชนิดมีลักษระพันธุกรรมใกล้เคียงกับสัตว์พื้นเมืองจนอาจมีการผสม ข้ามพันธุ์เกิดเป็นลูกผสม ทำให้ลูกที่ออกมามีอัตราการรอดต่ำและเป็นหมันในรุ่นต่อ ความหลากหลายทางพันธุกรรมเดิมเสื่อมลง เช่น ปลาดุกรัสเซียและลูกผสม(ปลาดุกบิ๊กอุย) ที่มีการปนเปื้อนกับพันธุกรรมของปลาดุกด้านหรือปลาดุกอุย เป็นต้น

1 ความคิดเห็น:

  1. Casino Games by Pragmatic Play - JT Hub
    Pragmatic Play 광주 출장마사지 develops online 당진 출장마사지 casino 군산 출장샵 games for sports betting, poker and casino 순천 출장샵 entertainment with 거제 출장마사지 cutting edge casino software and exclusive  Rating: 4.5 · ‎20 reviews

    ตอบลบ