วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

วงค์ปลากด



+



  • 1. ปลากดคัง
ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrones wyckioides(เดิมMystus wyckioides) อยู่ใน "วงศ์ปลากด">วงศ์ปลากด (Bagaridae) ที่มีขนาดโตเต็มที่ราว 1.5 เมตร หนักได้ถึง 100 ก.ก. แต่ที่พบโดยเฉลี่ยจะมีขนาดประมาณ 50 - 60 ซม. ลำตัวมีสีเทาอ่อนอมฟ้าหรือเขียวมะกอก ท้องสีจาง

ครีบ หางและครีบอื่น ๆ มีสีแดงสดหรือส้มสด ไม่มีแถบขาวบนขอบครีบหางส่วนบนเหมือนปลากดชนิดอื่น ๆ พบในแม่น้ำของไทยทุกภาค และในแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ นิยมนำมาบริโภคโดยการปรุงสด ลวก จิ้ม หรือยำ มีราคาค่อนข้างแพง มีการเพาะเลี้ยงเป็นกระชังอยู่ริมแม่น้ำสายใหญ่บางสาย และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย กดคังมีชื่อเรียกอื่น อีกเช่น "ปลากดแก้ว" "ปลากดเขี้ยว" กดหางแดง กดข้างหม้อ เป็นต้น


ปลา กดคังเป็นปลาที่มีลักษณรูปร่าง ยาวเพรียว ส่วนหัวแบนกว้าง ด้านบนของหัวเรียบ ลำตัวด้านบนมีสีม่วงเทาปนดำ ส่วนท้องขาว ปากกว้าง จงอยปากทู่ ตำแหน่งของปากตั้งอยู่ต่ำ ฟันคม ตาไม่มีเยื่อหุ้ม และอยู่ระดับเดียวกับมุมปาก มีหนวด 4 คู่ คือหนวดที่จมูกค่อนข้างสั้น ยาวถึงกึ่งกลางตาเท่านั้น หนวดที่ขากรรไกรยาวเลยครีบหลังเกือบถึงครีบไขมัน โคนหนวดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่กว่าคู่อื่นอย่างเห็นได้ชัด หนวดใต้คาง และหนวดที่ขากรรไกรล่างยาวถึงฐานครีบอก ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 1 ก้าน มีก้านครีบอ่อน 7-8 ก้าน ก้านครีบแข็งอันแรกของครีบหลังทางส่วนครึ่งล่างของโคนก้านแข็ง มีเงี่ยงแหลมคม แต่ทางส่วนครึ่งบนอ่อน ทำให้ไม่สามารถทำอันตรายต่อคนหรือสัตว์อื่นได้ ครีบอกประกอบด้วยก้านครีบแข็ง 1 ก้าน และก้านครีบอ่อน 8-9 ก้าน ครีบท้องประกอบด้วย ก้านครีบอ่อน 6 ก้าน ครีบก้นประกอบด้วยก้าน ครีบอ่อน 10-11 ก้าน มีซี่กรองเหงือก จำนวน 12 ก้าน ครีบหูมีสีเทาดำ ครีบหางเว้าลึก แฉกบนยาวกว่าแฉกล่าง ครีบหางมีสีแดงเข้มมากกว่าครีบอื่น ๆ ส่วนหน้าของครีบท้องและครีบก้นมีสีขาวปนเหลือง ปลายครีบสีแดง ครีบไขมันมีสีเข้มออกม่วงอมดำ



ปลา กดคังจัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในครอบครัวนี้ในธรรมชาติส่วน ใหญ่พบปลาขนาดตั้งแต่ 1-3 กิโลกรัม ความยาว 30-50 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบมีขนาดความยาวถึง 150 เซนติเมตร น้ำหนัก 30 กิโลกรัม และเคยมีผู้พบปลาขนาดน้ำหนักสูงสุด 70 กิโลกรัม

+++++++++++++++++++++++++++++


  • 2.ปลากดคังสาละวิน
ปลาหนังชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus micropthalmus อยู่ในวงศ์ปลากด(Bagridae) มีรูปร่างคล้ายปลากดเหลือง (Hemibagrus filamentus) และปลากดคัง (Hemibagrus wyckioides) มาก แต่มีส่วนหัวที่แบนราบกว่า และยื่นยาวกว่า ส่วนหลังยกสูง ครีบหลังเป็นก้านแข็ง ปากกว้าง มีหนวดที่ริมฝีปากยาวมากถึงบริเวณครีบก้น ตาเล็กมาก


ส่วน หัวมองจากด้านบน ค่อนข้างกว้าง ครีบไขมันยาว ครีบหางใหญ่ และเว้าลึก ตัวมีสีเทาอมฟ้า หรือเขียวมะกอก ด้านท้องสีจาง ครีบมีสีคล้ำ ครีบหางสีคล้ำ ขนาดใหญ่สุดถึง 1 เมตร พบทั่วไป 60 – 70 เซนติเมตร จับได้โดยเบ็ดราว ข่ายลอย และดำน้ำยิงด้วยฉมวก อาศัยในแม่น้ำและลำธารที่ค่อนข้างลึก พบเฉพาะในแม่น้ำสาละวินและสาขา และถูกจับขึ้นขายเป็นครั้งคราวใน จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นปลาที่มีรสชาติดี เช่นเดียวกับปลากดขนาดใหญ่ชนิดอื่นๆ และนิยมตกเป็นเกมกีฬา ในต่างประเทศพบในอินเดียและพม่าในแม่น้ำอิระวดี

+++++++++++++++++++++++++++++



  • 3.ปลากดเหลือง
เป็นชื่อของปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus filamentus (เดิม Mystus nemurus) อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagaridae) มีรูปร่างคล้ายปลากดคัง แต่มีรูปร่างเล็กกว่า

สีข้างลำตัวเป็นสีเหลือง จึงเป็นที่ของชื่อ ขนาดโตเต็มที่ราว 50 ซ.ม.

พบ ในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน บริโภคโดยการปรุงสด รมควัน และปลาแห้ง และมีการเพาะเลี้ยงในกระชังเหมือนปลากดคัง

มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลากดช่องหลวง" "ปลากดนา" "ปลากดขาว" หรือ "ปลากดคัง" เป็นต้น
ลักษณะที่แตกต่างระหว่าง ของHemibagrus filamentusกับHemibagrus nemurus

ครีบหลังยาวถึงจุดเริ่มต้นของครีบไขมันคือปลากดเหลือง Hemibagrus filamentus

ถ้า ครีบหลังไม่ถึงจุดเริ่มต้นของครีบไขมันก็เป็นปลากดเหลือง Hemibagrus nemurusครับ ขอบคุณน้าจิรชัยจากเวปสยามฟิชชิ่งที่ให้ความรู้วิธีการแยก 2 ชนิดนี้ครับ

+++++++++++++++++++++++++++++

  • 4.ปลากดหม้อ
เป็น ชื่อปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus wyckii (เดิม Mystus wyckii) มีรูปร่างค่อนข้างสั้นป้อม หัวและลำตัวตอนหน้าแบนราบกว่าปลาชนิดอื่น ๆ ปากกว้าง ตาค่อนข้างเล็ก ส่วนหลังยกสูง ครีบหลังมีก้านแข็ง ครีบไขมันค่อนข้างยาว หนวดที่ริมฝีปากยาวถึงบริเวณหลัง ตัวมีสีเทาคล้ำหรือดำ ด้านท้องสีจาง ครีบสีคล้ำขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีแถบสีขาวเห็นชัดเจน

มี ขนาดประมาณ 30 ซ.ม. ใหญ่สุด 70 ซ.ม. พบในแม่น้ำสายใหญ่ทุกภาคของประเทศ และพบไปถึงบอร์เนียว เป็นปลากดที่มีราคาสูงชนิดหนึ่ง นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดเหมือนปลากดคัง และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย ปลากดหม้อ ยังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไปเช่น ปลากดดำ, ปลาสิงห์ดำ, ปลากดหางดอก

ชื่อที่ใช้เรียกในวงการปลาสวยงามคือ"มรกตดำ"แต่มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าวมาก ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้เลย
+++++++++++++++++++++++++++++


  • 5.ปลากดหัวเสียม
เป็นปลาหนังมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sperata acicularis(อดีตAoriichthys seenghala)
ใน วงศ์ปลากด(Bagridae)มีลักษณะสำคัญ คือ ส่วนหัวและจะงอยปากยื่นยาวมากที่สุดในกลุ่มปลากดทั้งหมด หัวแบนราบเล็กน้อย ลำตัวทรงกระบอก แต่ด้านหลังยกสูง และเรียวไปทางด้านท้าย ตาเล็กอยู่ด้านบนของหัว ริมฝีปากตัดตรงอยู่ปลายสุดของจะงอยปาก หนวดที่ริมฝีปากยาวมาก ครีบหลังไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบไขมันยาวมาก ครีบหางใหญ่เว้าลึก ตัวมีสีเทาอมฟ้า หรือเขียวอ่อน ด้านท้องสีจาง ครีบสีจาง ครีบไขมันมีดวงสีดำเด่น ขอบขาวที่ตอนปลายท้ายสุด ครีบหางมีสีแดงเรื่อ ๆ

ขนาด พบใหญ่สุดถึง 1 เมตร ขนาดที่พบทั่วไป 50 เซนติเมตร จับได้โดยเบ็ดราว ข่ายลอย พบเฉพาะในแม่น้ำสาละวิน และสาขาและแม่น้ำตะนาวศรีในพม่า นิยมบริโภคในท้องถิ่นโดยปรุงสด มักถูกจับขึ้นขายในท้องตลาดของ จ.แม่ฮ่องสอน และ อ.แม่สอด จ.ตาก เป็นครั้งคราว

เนื้อ มีรสชาติดีพบมีการทำรังวางไข่โดยขุดแอ่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง1เมตร และเลี้ยงลูกอ่อนถึงขนาด3–4 เซนติเมตร หรืออาจจะใหญ่กว่า แต่ตัวผู้หรือตัวเมียเป็นผู้เลี้ยงยังไม่ทราบแน่ชัด รังที่พบอยู่ในระดับความลึกประมาณ 2 เมตร ในเดือนเมษายน ที่แม่น้ำปายมีพื้นเป็นทรายปนโคลนมีกรวดปนและใกล้กับกองหิน

นอกจากนี้แล้วกดหัวเสียมยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย มีชื่อเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า " แก๊ด "

+++++++++++++++++++++++++++++


  • 6.ปลาดุกมูน
ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bagrichthys obscurus (อดีต Bagrichthys macropterus) อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagaridae) มีส่วนหัวสั้น จะงอยปากเล็ก ตาเล็กมาก มีหนวดสั้น 4 คู่ คู่ที่อยู่ด้านล่างจะเป็นเส้นแบนบิดเป็นเกลียว ริมฝีปากเล็กเป็นจีบ ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ส่วนหลังยกสูง ครีบหลังสูง ครีบไขมันยาวมาก ครีบหางเว้าลึก ครีบหลังยกสูงและครีบอกแข็งเป็นก้านแข็งปลายคม ตัวมีสีคล้ำหรือน้ำตาลอ่อน ด้านท้องสีจาง บางตัวอาจมีแถบเฉียงสีจางพาดขวางลำตัว ครีบสีจาง หางใส มีขนาดประมาณ 15 ซ.ม. พบใหญ่ที่สุด 30 ซ.ม.

พบ ชุกชุมในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำโขง มีพฤติกรรมมักหากินบริเวณท้องน้ำที่มีน้ำขุ่น นิยมยริโภคด้วยการปรุงสด เนื้อมีรสชาติดี อร่อย มีราคาสูง

ดุกมูน ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกว่า "ปลาแขยงหนู" "ปลาแขยงหมู" "ปลากดหมู" หรือ "ปลาแขยงดาน" เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น