วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

วงศ์ปลาสวาย



  • 1)ปลาบึก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pangasianodon gigas เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงบริเวณ"ประเทศลาว" เป็นปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากการจับปลามากเกินไป คุณภาพน้ำที่แย่ลงจากการพัฒนาและการสร้างเขื่อนบริเวณต้นน้ำ ปัจจุบัน "IUCN" จัดปลาบึกอยู่ในกลุ่ม Critically Endangered ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มาก

ลักษณะ ภายนอกที่สามารถแยกแยะปลาบึกออกจากปลา catfish ขนาดใหญ่อื่นในแม่โขง ได้แก่ลักษณะของฟันและหนวด ปลาบึกไม่มีฟันและเกือบจะไม่มีหนวด โดยที่ปลาวัยอ่อนมีฟันและกินปลาอื่นเป็นอาหาร แต่เมื่อโตขึ้นฟันจะหลุดไป และตาซึ่งจะอยู่ต่ำกว่ามุมปาก อาหารของปลาในธรรมชาติคือพืชชนิดต่าง ๆ เช่นตะไคร่น้ำ แต่เมื่อนำมาเลี้ยงก็สามารถรับอาหารชนิดอื่นได้ สามารถโตได้ถึง 3 เมตรและหนัก 150-200 กิโลกรัม ใน 5 ปี ปลาที่หนักที่สุดเท่าที่เคยจับได้เป็นตัวเมีย (บางรายงานระบุผิดว่าเป็นตัวผู้) ยาว 2.7 เมตร และหนัก 293 กิโลกรัม (646 ปอนด์) เจ้าหน้าที่กรมประมงสามารถรีดไข่ได้สำเร็จแต่ปลาตัวนี้ก็ตายก่อนที่จะปล่อย กลับธรรมชาติ

ใน ธรรมชาติยังไม่มีผู้พบปลาวัยอ่อน ปลาบึกเป็นปลาที่อพยพว่ายน้ำจากแม่น้ำโขงในเขตประเทศจีน เพื่อที่จะไปผสมพันธุ์และวางไข่ที่ทะเลสาบเขมร โดยฤดูกาลที่ปลาอพยพมานั้น ที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จะถือว่าเป็นประเพณีจับปลาบึก โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปลาบึกถือเป็นอาหารที่หรูของประเทศลาว ในอดีตมีการประกอบพิธีกรรมร่วมกับการจับปลาชนิดนี้ ซึ่งมีการจับเพียงครั้งเดียวต่อปี และเนื้อปลาก็พบเห็นได้น้อยตามตลาด นอกจากเนื้อแล้ว ตับและไข่ปลาหมักเป็นอาหารรสชาติดี และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ปลาบึกมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ไตรราช" ปลาบึกที่มีขายในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการผสมเทียม
+++++++++++*+*++++++++++++


  • 2.ปลาสวาย
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasianodon hypophthalmus (เดิม Pangasius sutchi) อยู่ใน"วงศ์ปลาสวาย" (Pangasiidae) มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก แนวบริเวณหัวถึงครีบหลังลาดตรง ตาอยู่เสมอหรือสูงกว่ามุมปาก ปากแคบกว่า"ปลาบึก" รูปร่างเพรียวแต่ป้อมสั้นในปลาขนาดใหญ่ ก้านครีบท้องมี 8 - 9 เส้น ครีบก้นยาว ปลาขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเงิน ด้านข้างลำตัวสีจางและมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำตามแนวยาวทั้งตอนบนและล่าง ปลาขนาดใหญ่มีสีเทาหรือคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีจาง มีขนาดประมาณ 50 ซ.ม. ใหญ่สุด 1.5 เมตร
พบ ในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ ทั่ว"ประเทศไทย" เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่ซึ่งมีการเพาะเลี้ยงกันมานานกว่า 50 ปี แล้ว โดยเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จในปี "พ.ศ. 2509" มีฤดูวางไข่ใน"กรกฎาคม" นิยมบริโภคโดยปรุงสดและรมควัน ในธรรมชาติ มักพบชุกชุมตามอุทยานปลาหรือหน้าวัดต่าง ๆ ที่ติดริมน้ำ โดยในบางพื้นที่อาจมีปลา"เทโพ"เข้ามาร่วมฝูงด้วย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม



โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาที่สีกลายเป็นสีเผือก (Albino)
+++++++++++*+*++++++++++++

    3.ปลาเทโพ
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius larnaudii อยู่ใน"วงศ์ปลาสวาย" (Pangasiidae) มีส่วนหัวและจะงอยปากมน ปากอยู่ค่อนไปทางด้านล่าง รูปร่างป้อมสั้น ปลาขนาดใหญ่มีลำตัวส่วนท้องลึก ปลายครีบหลัง ครีบท้อง ครีบอก ครีบท้อง และครีบก้นยื่นเป็นเส้นยาวเรียว มีแต้มสีดำเห็นชัดเจนที่ฐานครีบอกตัวมีสีเทาคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างมีสีเทาจาง ด้านท้องสีจางอมชมพู ครีบสีจาง ครีบก้นมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบหางมีแถบสีคล้ำทั้งตอนบนและตอนล่าง มีขนาดประมาณ 50 ซ.ม. ใหญ่สุดได้ถึง 1.5 เมตร

ปลา ขนาดเล็กกินแมลง ปลาขนาดใหญ่กินพืช เช่น ผลไม้ เมล็ดพืช ปลา หอย แมลง ตลอดจนถึงซากสัตว์ อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่และสาขาทั่วประเทศ

โดย มักรวมฝูงกับปลา"สวาย"ด้วย เป็นปลาที่นิยมบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำมาปรุง "แกงเทโพ" มีการเพาะเลี้ยงใน"ประเทศไทย"มานานกว่า 50 ปี

และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น หูหมาด" หูดำ " หรือ " ปึ่ง " ในภาษาเหนือเป็นต้น

+++++++++++*+*++++++++++++

  • 4.ปลาเทพา
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius sanitwongsei อยู่ใน"วงศ์ปลาสวาย" (Pangasiidae) มีส่วนหัวและปากกว้างกว่าปลาในสกุลเดียวกัน (Genus) ชนิดอื่น ๆ (Species)


มี ฟันแหลมคม รูปร่างป้อม ลำตัวลึก ส่วนหลังยกสูงปลายครีบหลัง ครีบอก ครีบท้องยื่นเป็นเส้นยาว ครีบหางเว้าลึก เมื่อว่ายน้ำจะตั้งชั้นเหมือน"ฉลาม" ปลาวัยอ่อนมีสีเทาคล้ำ ข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำแนวเฉียง ท้องสีจาง ครีบมีแต้มสีดำ ปลาตัวเต็มวัยมีลำตัวสีเทาคล้ำ ท้องสีจาง ครีบสีคล้ำ ครีบก้นตอนหน้ามีแถบสีคล้ำตามแนวยาว ครีบหางมีแถบสีจางตามแนวยาวทั้ง 2 แฉก มีขนาดประมาณ 1 - 1.25 เมตร ใหญ่สุดพบยาวได้ถึง 3 เมตร


พบ เฉพาะใน"แม่น้ำเจ้าพระยา"และ"แม่น้ำโขง"เท่านั้น ปัจจุบัน ได้สูญพันธุ์ไปแล้วจาก"แม่น้ำเจ้าพระยา" และหายากในแม่น้ำโขง แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วโดยวิธีการผสมเทียม ปลาวัยอ่อนกินปลาเล็กเป็นอาหาร ปลาวัยโตกินซากสัตว์อื่น และปลาเล็ก เนื้อมักถูกนำมาขายแทนเนื้อ"ปลาบึก"ซึ่งหายาก และมีราคาแพงกว่า

นิยม เลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาพิการ ที่ลำตัวสั้นกว่าปกติ (Short Body) มีราคาสูงมาก มีชื่อเรียกใน"ภาษาอีสาน" " เลิม " อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของเทพานั้น ตั้งขึ้นโดย "ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ" (Hugh McCormick Smith) อธิบดีกรมประมงคนแรก เพื่อเป็นเกียรติแด่ ม.ร.ว. สุวพรรณ สนิทวงศ์ ในฐานะเป็นผู้ผลักดันและบุกเบิกให้มีหน่วยงานทางด้านการศึกษาและจัดการสัตว์ น้ำในประเทศ ซึ่งก็คือกรมประมง ในปัจจุบัน

+++++++++++*+*++++++++++++

  • 5.ปลาสวายหนู
มี "ชื่อวิทยาศาสตร์" Helicophagus waandersii อยู่ใน"วงศ์ปลาสวาย" (Pangasiidae) มีลักษณะหัวหลิม ตาเล็ก ขอบตามีแผ่นหนังคลุม จงอยปากเรียว ปากเล็กกว่าปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ ริมฝีปากบางมีแผ่นหนังนิ่มหุ้ม รูจมูกอยู่ห่างกัน หนวดทั้ง 2 คู่ยาวถึงช่องเปิดเหงือก รูปร่างเพรียวแบนข้างเล็กน้อย ครีบก้นยาว ครีบไขมันยาว ลำตัวสีเทาอ่อนหรืออมฟ้า ด้านข้างลำตัวสีจางไม่มีแถบสี หัวและท้องสีจางอมชมพู ครีบสีจาง ปลาวัยอ่อนมีสีเทาอมชมพู
มี ขนาดประมาณ 30-40 ซ.ม. ใหญ่สุดประมาณ 60 ซ.ม. อาหารกินแต่เฉพาะหอยขนาดเล็ก ทั้ง"หอยฝาเดียว (ยังไม่ได้สร้าง)">หอยฝาเดียวและ"หอยฝาคู่" โดยมักหากินใกล้พื้นท้องน้ำ มักกินจุจนท้องป่อง แล้วถ่ายออกมาเฉพาะเปลือก อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ พบใน


"แม่ น้ำโขง"และ"แม่น้ำเจ้าพระยา" ไม่พบใน"ภาคใต้"ของไทย แต่มี"ประเทศมาเลเชีย"จนถึง"เกาะสุมาตรา"ประเทศอินโดนีเชีย" ในประเทศไทยบริโภคโดยการปรุงสุดและหมัก"สับปะรด" (เค็มบักนัด)

สวายหนู มีชื่อที่เรียกใน"ภาษาอีสาน"ว่า " ยอนหนู " และ " หน้าหนู "

+++++++++++*+*++++++++++++

  • 6.ปลาเผาะ
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius bocourti อยู่ใน"วงศ์ปลาสวาย, ปลาสังกะวาด" มีลักษณะส่วนหัวมนกลม ปากแคบ รูปร่างป้อม ท้องอูม ลำตัวตอนหน้าค่อนข้างกลม และแบนข้างเล็กน้อยที่ด้านท้าย ครีบไขมันเล็ก ปลาวัยอ่อนมีสีเทาเหลือบเหลืองหรือเขียวอ่อน ข้างลำตัวมีแถบคล้ำ ครีบอกมีแต้มสีจาง ปลาตัวเต็มวัยมีสีเทาอมน้ำตาลอ่อนหรือฟ้าอ่อน ท้องสีขาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำจาง มีขนาดประมาณ 60 - 80 ซ.ม. ปลาวัยอ่อนกินแมลง ปลาตัวเต็มวัยกินพืชเป็นส่วนใหญ่ อาจกินแมลงและหอยบ้าง


พบ ใน"แม่น้ำโขง"ถึง"แม่น้ำเจ้าพระยา" พบน้อยใน"แม่น้ำบางปะกง" บริโภคโดยการปรุงสดและรมควัน และยังสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย กรมประมงในขณะนี้มีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรโดยเฉพาะในภาคอีสานเลี้ยงปลา ชนิดนี้เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดใหม่ ขณะที่ต่างประเทศเช่นที่"เวียดนาม" > ก็ได้เลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน




เผาะ ยังมีชื่อเรียกต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น " โมง " " โมงยาง " " ยาง " หรือ " อ้ายด้อง " ชื่อในวงการปลาสวยงามเรียกว่า " ปลาบึกโขง " นครพนมเรียก "ปลาพ้อ" เป็นต้น

+++++++++++*+*++++++++++++


  • 7.ปลาโมง
เป็น ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius conchopilus อยู่ใน"วงศ์ปลาสวาย""เผาะ" (Pangasius bocourti) มีตาเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง หนวดยาวถึงบริเวณช่องเหงือก แถบฟันบนเพดานเชื่อมติดกันเป็นรูปเหลี่ยม รูปร่างเพรียว หางคอด ก้านครีบแข็งที่หลังค่อนข้างยาวและใหญ่ หัวและลำตัวสีเทาหรือสีเขียวมะกอกเหลือบเหลืองหรือเขียว บางตัวสีเทาจาง ข้างลำตัวสีจางและไม่มีแถบคล้ำ ท้องสีจาง ครีบสีจาง ลูกปลามีสีเทาอมน้ำตาลหรือเหลือง มีขนาดประมาณ 60 - 80 ซม.




พบ ปลาที่ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2534 โดยระบุว่าเป็นปลาชนิดใหม่ที่มีขนาดเล็ก กินกุ้ง ปู และแมลงเป็นส่วนใหญ่ ปลาขนาดใหญ่กินหอย ปู เมล็ดพืช โดยหอยจะถูกกินทั้งตัวแล้วถ่ายออกมาเฉพาะเปลือก


อาศัย ในแม่น้ำสายใหญ่ พบมากใน"แม่น้ำโขง""แม่น้ำบางปะกง" บริโภคโดยการปรุงสด และหมักสับปะรด เนื้อมีรสชาติดี ต่างประเทศเช่นที่ เวียตนามและมาเลเชีย มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้เป็นปลาเศรษฐกิจด้วย มีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น " โมงออดอ้อ " " เผาะ " หรือที่ทางกรมประมงตั้งให้ คือ " สายยูเผือก " เป็นต้น

+++++++++++*+*++++++++++++


  • 8.ปลายาว
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius krempfi จัดอยู่ใน"วงศ์ปลาสวาย"(Pangasiidae) มีลักษณะหัวเรียว ตาเล็ก ปากอยู่ด้านล่างของจงอยปาก หนวดยาวถึงลูกตา รูปร่างเพรียวยาว ลำตัวค่อนข้างกลมและแบนข้างที่ด้านท้าย ตัวผู้มีปลายครีบหลังและครีบท้องยื่นเป็นเส้นสั้น ๆ ลำตัวมีสีเทาคล้ำอมฟ้า ข้างลำตัวสีจาง ครีบสีจาง ครีบหางมีสีเหลืองอ่อน ที่ขอบบนแฉกมีสีคล้ำจาง ๆ

มีขนาดประมาณ 40 ซ.ม. พบใหญ่สุด 80 ซ.ม. พบเฉพาะใน"แม่น้ำโขง"ตั้งแต่"จังหวัดหนองคาย"ถึง"อุบลราชธานี" เท่านั้น

เป็น ปลาที่ตายง่ายมากหลังการจับจึงได้อีกชื่อจากชาวประมงที่จังหวัดหนองคายว่า " ปลาซวยเสาะ " แต่ที่"จังหวัดนครพนม"เรียกว่า " ปลายาว " บริโภคโดยการปรุงสด เนื้อมีรสชาติดี ปลายาวที่มีขนาดเล็กจะพบเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำโขง และชายฝั่งทะเลไปถึง"เกาะไหหลำ" ในประเทศจีน

+++++++++++*+*++++++++++++
  • 9.ปลาสังกะวาดท้องคม
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius pleurotaenia หรือ Pteropangasius pleurotaenia อยู่ใน"วงศ์ปลาสวาย" (Pangasiidae) มีลักษณะ หัวสั้น ตาโต ปากแคบ หนวดสั้น ลำตัวแบนข้างกว่าชนิดอื่น ๆ ท้องเป็นสันคมตลอด ปลาตัวผู้มักมีรูปร่างเพรียวยาวกว่าตัวเมีย ครีบท้องเล็กอยู่สูงกว่าระดับสันท้อง ครีบไขมันเล็ก ครีบก้นยาว ครีบหางเว้าเป็นแฉก ตัวด้านบนสีคล้ำเหลือบเขียวหรือเหลือง ข้างลำตัวสีจางมีแถบสีคล้ำตามยาวตั้งแต่บริเวณโคนครีบอก ท้องสีจาง ครีบหางสีเหลืองอ่อนขอบคล้ำ


มี ขนาดประมาณ 15 - 20 ซ.ม. ใหญ่สุดที่พบคือ 30 ซ.ม. จัดว่าเป็นปลาขนาดเล็กเมื่อเทียบกับปลาชนิดอื่น ๆ ในวงศ์นี้ กินแมลงเป็นอาหารหลัก กินเมล็ดพืช ผลไม้ และพืชน้ำในบางครั้ง พบมากใน"แม่น้ำโขง""แม่น้ำเจ้าพระยา""แม่น้ำแม่กลอง" พบน้อยใน"แม่น้ำตาปี" เป็นปลาที่พบชุกชุม จึงเป็นปลาเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคอีสาน นิยมบริโภคเป็นปลาแห้งและปรุงสด มีชื่อเรียกเป็นภาษาถิ่นอีสานว่า" ยอนปีก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น