วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

ปลาช่อน ( Common Snakehead )

ปลาช่อน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นทแยงสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว 6-7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้ำมีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร

โดยปลาช่อน ชนิดนี้มีความพิเศษไปกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ คือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนมาได้เป็นแรมเดือน โดยสะสมพลังงานและไขมันไว้ ที่เรียกว่า “ปลาช่อนจำศีล“ พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย พบไปจนถึงเอเชียใต้, พม่าและอินโดนีเซีย นิยมนำมาบริโภค ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายทั้งสดและตากแห้ง เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญจนอาจเรียกได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอันดับ หนึ่งเลี้ยงได้ทั้งในบ่อและกระชังตามริมแม่น้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะตัวที่สีกลายเป็นสีเผือกหรือปลาที่พิการตัวสั้นกว่าปกติ
ปลาช่อนในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดสิงห์บุรี ขึ้นชื่อมาก ที่เรียกว่า “ปลาช่อนแม่ลา” มีประเพณีพื้นถิ่นคือเทศกาลกินปลา
ปลาช่อน มีชื่อเรียกตามภาษาถิ่นในแต่ละภาคว่า “หลิม” ในภาษาเหนือ “ค้อ” หรือ “ก๊วน” ในภาษาอีสาน เป็นต้น
พฤติกรรม ลักษณะนิสัย :
โดยพื้นฐานนิสัยของปลาช่อน จะเป็นปลาที่รักสันโดด เป็นปลาล่าเหยื่อที่ขี้ตระหนกตกใจมาก ไม่ดุร้าย ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์ และช่วงวางไข่ หรือมีลูกอ่อน (ปลาช่อนลูกครอก) จะดุร้ายบ้าง ซึ่งจะเป็นการขับไล่ศัตรูของลูกครอกเท่านั้น ปลาช่อนเป็นปลาที่มีความอดทนสูงมาก ในการล่าเหยื่อ สามารถอดทนรอจนเหยื่อตายใจ เพราะฉะนั้นสำหรับ การตกปลาช่อน ทุกท่านต้องใจเย็นเป็นพิเศษ
หมายตกปลาช่อน :
ปลาช่อน เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ซึ่งพบได้ทั่วไปตามแม่น้ำลำคลองขนาดเล็ก รวมไปถึงแม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ และเขื่อนขนาดใหญ่ สำหรับท่านที่ต้องการตกปลาช่อน  สามารถตกได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วๆ ไป หรือ หมายตกปลาช่อน หลักๆ ดังนี้
  • เขื่อนแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบูรณ์
  • เขื่อนศรีนครินทร์หรือเขื่อนเจ้าเณร อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี 
  • เขื่อนเขาแหลมหรือเขื่อนวชิราลงกรณ์  จังหวัดกาญจนบุรี
  • อ่างเก็บน้ำจักรพงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี
  • เขื่อนรัชชประภา หรือ เขื่อนเชี่ยวหลาน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฏร์ธานี
  • เขื่อนลำมูลบน อ.ครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
  • เขื่อนลำแชะ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
  • เขื่อนแม่งัด อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
  • เขื่อนแม่กวง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
  • เขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
  • อื่นๆ ตามแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วทุกภาคของไทย
เทคนิคการตกปลาช่อน :
การตกปลาช่อน ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน จะมีวิธีการตกปลาช่อนมี วิธี หลักๆ ดังนี้
  1. การตกปลาช่อนใต้น้ำ ซึ่งเป็นวิธีการตีเหยื่อปลอมใต้น้ำ ซึ่งจะมีระดับความลึกแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเหยื่อปลอมนั้นๆ เทคนิคในการตีเหยื่อปลอมเพื่อตกปลาช่อนนั้น ต้องใจเย็นเป็นพิเศษ ไม่ควรตีเหยื่อยซ้ำจุดเดิมบ่อยครั้งจนเกินไป เนื่องจากจะทำให้ปลาชนิดนี้รำคาญและว่ายหนีไป สิ่งที่พึงคำนึง ต้องคำนึงถึง Action ของเหยื่อปลอมใต้น้ำ ซึ่งจะต้องทำให้ดูเหมือนปลาจริงๆ ที่แหวกว่ายอยู่ ไม่ช้าและเร็วจนเกินไป
  2. กาตกปลาช่อนผิวน้ำ โดยส่วนมากจะใช้เหยื่อปลอมที่เรียกว่า Popper ที่มีรูปร่างทั้งกบ ปลา และรูปร่างเป็นแมลงที่น่าสนใจ
คันเบ็ดและรอกที่แนะนำ :
  • คันเบ็ด ควรเป็นคันที่มีเวทที่ค่อนข้างกลาง-ใหญ่นะครับ โดยส่วนมากมักใช้เวทประมาณ20-40 LB และรอกควรเป็นรอกที่มีกำลังเบรคสูงๆ และ มีความลื่นค่อนข้างมาก เพื่อให้เราสามารถส่งเหยื่อออกไปให้ถึงจุดที่ปลาขึ้นจิบได้
  • สายที่ ใช้ ควรทนทานหน่อยนะครับ หากใช้สายเอ็น ก็ควรเลือกที่มีประสิทธิภาพทนแรงดึงกระชากได้ดี หากเลือกเป็นสายPE ก็สามารถใส่ได้ถึง PE3-6 กันเรย  แต่หากเรามีชุดขนาดกลางๆอยู่แล้ว ก็สามารถช้งานได้นะครับ แต่เพียงคุณจัดชุด รอก คัน สาย ให้มีความแหมาะสมกัน ก็เพียงพอแล้วครับ หากปลาใหญ่เข้าฉวย ก็ไม่ต้องกลัวครับ ค่อยๆเล่นค่อยๆประคองไปครับ ใจเย็นๆเดี่ยวปลามันเหนื่อยมันก็ยอมเราเองแหล่ะครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น