วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

ปลาชะโด (Giant Snake head )


ปลาชะโด เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ ตระกูลเดียวกันกับช่อน แต่มีขนาดใหญ่กว่าโดยมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร น้ำหนักถึง 20 กิโลกรัม มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลมยาว พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว มีลายประสีดำกระจายทั่วตัว ภายในปากมีฟันแหลมคม เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ, ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด เมื่อเริ่มโตขึ้นมาสีและลายจะเริ่มจางหายไปกลายเป็นสีเขียวอมน้ำตาลคล้ายสี ของเปลือกหอยแมลงภู่แทนโดยการที่สีของปลาเปลี่ยนไปตามวัยนี้ ชะโดจึงมีชื่อเรียกต่างออกไปตามวัย เมื่อยังเป็นลูกปลาจะถูกเรียกว่า “ชะโด” หรือ “อ้ายป๊อก” เมื่อโตเต็มที่แล้วจะถูกเรียกว่า “แมลงภู่” ตามสีของลำตัว นอกจากจะเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในตระกูลนี้แล้ว
ลักษณะนิสัย พฤติกรรมของปลาชะโด
ปลาชะโดเป็นปลาล่าเหยื่อ กินลูกปลาอื่นๆเป็นอาหาร เช่น ปลานิล  ลูกปลาช่อน  ปลาหมอใหญ่ฯ  หรือแม้ กระทั่งปลากระสูบ  ปลาชะโดนั้นจะเป็นปลาที่หวงถิ่นเป็นที่สุด  ไม่ชอบให้ใครมารบกวนหรือเข้ามาใกล้ลูกคลอกที่มันเฝ้าระวังอยู่ จะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รังฟันของปลาชะโดค่อนข้างคม  และมีพลังในการกัดเหยื่อด้วยขากรรไกรที่มีแรงค่อนข้างมาก  กัดแล้วสะบัดสามารถทำให้เหยื่อขาดได้โดยที่เหยื่อปลานั้นยังไม่ตาย สักพักมักจะมีปลาชะโดตัวอื่นเข้ามาเฝ้าและกัดซ้ำ  หรือไม่ก้อก้อตัวเจ้าของเดิมมาว่ายวนอยุ่กับส่วนที่เหลือ   บางครั้งถ้าเราเห็นปลานิลถูกกัดลอยอยู่  ถ้าตีเหยื่อโฉบไปบริเวณนั้นก้อได้ตัวแทบทุกกรณี
ฤดูผสมพันธุ์
ปลาชะโดจะเริ่มจับคู่ขยายพันธ์ ในเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนกันยายน  ลักษณะการจับคู่จะพบมากตามป่าต้นไม้ชายน้ำ  หรือตามหลืบเขา  ป่ากก  ชายตลิ่งที่มีวัชพืชขึ้นรก  โดยมันจะทำการกัดหญ้าหรือต้นไม้ในบริเวณนั้นเพื่อทำรังและวางไข่  เราจึงเรียกชะโดช่วงนี้ว่า “ชะโดตีแปลง”  โดยปลาจะพวกเศษไม้ ใบไม้เล็กๆ ที่มันจะเอามากองรวมๆกันบนผิวน้ำแล้วมันก็จะดูแลไข่อยู่ใต้นั้น ในช่วงนี้ปลาชะโดจะมีนิสัยค่อนข้างดุร้าย โดยปลาตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลไข่และลูกอ่อน มันจะไล่กัดแทบทุกอย่างที่มันคิดว่าจะเป็นอันตรายต่อลูกของมัน ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ จึงมักมีผู้ถูกชะโดกัดทำร้ายบ่อย ๆ ในช่วงนี้(กัดคนจนใส้แตกมาแล้วก็มี)ลักษณะปลาชะโดแม่คลอก  สังเกตุง่าย  ลวดลายตัดกับสีลำตัวชัดเจนระหว่างส่วนท้องสีขาว  และลายพลาดลำตัวสีดำ  ส่วนใหญ่ปลาชะโดช่วงนี้จะดุและเข้าโจมตีหรือกินเหยื่อค่อนข้างง่ายกว่าตกนอก ช่วงฤดูวางไข่  แม่คลอก  จึงเป็นที่นิยมและชื่นชอบโปรดปรานกับนักตกปลาล่าเหยื่อกันค่อนข้างมาก  ซึ่งถ้าตกนอกฤดูกาลค่อนข้างจะได้ตัวยากและลำบากกว่าชะโดแม่ครอก ชะโดลูกครอก
ปลาชะโดตามธรรมชาติที่ไม่ได้อยู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์หรือวางใข่  สีสันของตัวปลาจะแตกต่างกับปลาชะโดแม่คลอกโดยสิ้นเชิง โดยสีสันจะไม่มีลายชัดเจน  แต่จะออกดำหรือออกม่วงเหมือนสีของหอยแมลงภู่  ไม่ว่าจะตกได้สักกี่ตัวต่อกี่ตัวก็จะมีสีสันคล้ายคลึงกัน หรือแม้กระทั่งชะโดวัยรุ่น สีก้อจะมีลายแต่ไม่ชัดเจนถึงขนาดดำตัดกับท้องสีขาว
ปลาชะโดได้รับความนิยมจากนักตกปลาเป็นอย่างมาก เพราะปลาชะโดนั้นตัวใหญ่ แรงกัด กระชากเยอะ ยิ่งตัวใหญ่ยิ่งตกยาก เรียกว่าเก๋าประสบการณ์  การจะตกปลาชะโดให้ได้ตัวนอกฤดูผสมพันธุ์นั้นไม่ง่าย ต้องอาศัยทักษะหลายๆ ด้านเข้าด้วยกัน นักตกปลาเก๋าๆเจอชะโดเข้าไปต่างก็ยกธงขาวกันก็เยอะ แต่ด้วยความที่มันไม่ง่ายนี้จึงกลายเป็นสเน่ห์ของปลาชะโด ที่ทำให้นักตกปลาทั่วฟ้าเมืองไทยชื่นชอบ และใฝ่ฝันว่าจะตกปลาชะโดตัวใหญ่ๆให้ได้ แม้กระทั่งฝรั่งต่างชาติยังชอบเข้ามาตกปลาชะโดในเมืองไทย  การตกปลาชะโดให้ได้ตัวซักครั้งหนึ่งในชีวิต ถืือเป็นความประทับครั้งใหญ่เลยทีเดียว
หมายตกปลาชะโด แหล่งตกปลาชะโด
ปลาชะโดนั้นอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติในประเทศไทย หาตกได้ครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่ทุกภาค สถานที่ที่คนนิยมไปตกปลาชะโดนั้นมักจะเป็นเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำต่างๆ เนื่องจากชะโดที่เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำนั้นมักจะมีขนาดใหญ่  เช่น
เขื่อนแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
เขื่อนศรีนครินทร์หรือเขื่อนเจ้าเณร  อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี  
เขื่อนเขาแหลมหรือเขื่อนวชิราลงกรณ์  จังหวัดกาญจนบุรี 
- เขื่อนรัชชประภา หรือ เขื่อนเชี่ยวหลาน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฏร์ธานี
- เขื่อนแม่งัด อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
- อ่างเก็บน้ำจักรพงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี
- เขื่อนลำมูลบน อ.ครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
- เขื่อนลำแชะ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
- เขื่อนแม่กวง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
- เขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
เทคนิคการตกปลาชะโดและสูตรเหยื่อการตกปลาชะโด จะมี 3 วิธีหลักๆ ดังนี้
1  การตีปลาสุ่มการตีปลาสุ่ม หมายถึงการตีเดาสุ่มไปเรื่อยๆ โดยที่เราเอง ก็ไม่รู้หรอกว่า ปลามันอยู่ไหน มันจะชาร์ทเหยื่อเมื่อไหร่ การตีปลาสุ่มด้วยนิยมใช้เหยื่อผิวน้ำ ได้แก่ กบกระโดด  กบใบพัด เหยื่อติดใบพัด หรือ เหยื่อที่มีลักษณะคล้ายๆกัน และมีเพียงตะขอ 2 ทาง อยู่ส่วนท้ายเท่านั้น (เหยื่อผิวน้ำ หมายถึง เหยื่อที่เวลาที่เราใช้งาน เหยื่อเหล่านี้จะสร้างแอ็คชั่นอยู่บนน้ำ เพื่อให้เป็นที่สนใจของปลาล่าเหยื่อ ถ้าเราไม่กรอมันกลับ มันก็อาจจะค่อยๆจมหายไปหรือลอยอยู่ แล้วแต่เหยื่อที่ผลิตออกมา) เมื่อจะตีปลาสุ่มให้เราตีเข้าหาจุดหมายที่คาดคะเนว่าน่าจะมีปลาดักรอล่าเหยื่ออยู่ โดยส่วนมากปลาชะโดแล้วจะอยู่ชิดติดกับตอไม้ พงหญ้า ขอบตลิ่ง ต่างๆเหล่านี้เราเรียกว่า อุปสรรคหรือสวะ เทคนิคคือเวลาที่ตีเหยื่ออกไป เมื่อเหยื่อถึงจุดหมาย หยุดเหยื่อให้ตกกระทบกับผิวน้ำแล้ว มี 2 ทางเลือก
1.กรอกลับทันที เหยื่อกระทบผิวน้ำ แป๊ะ!! กรอกลับอย่างเร็ว ในช่วง 1 วินาทีแรก แล้วผ่อนให้ช้าลงนิดหน่อยหลังจากนั้น ในหลายช่วง หลายจังหวะ การลากเหยื่อ อาจเพิ่มแอ็คชั่นให้กับเหยื่อ โดยการเจิร์คบ้าง Jerk ก็คือ การสบัดปลายคันเบ็ดขึ้นๆลงๆ เพื่อให้เกิดแรงกระชากตรงตัวเหยื่อ ผันแปร ไม่สมำเสมอ
2.หยุดเหยื่ออยู่ตรงนั้น แล้วค่อยๆ เจิร์คตวัดปลายคัน ให้หัวเหยื่อคะมำขึ้นๆลงๆ ค่อยๆขยับมาเรื่อยในช่วง 1-3 วินาทีแรก แล้วค่อยกรอกลับ เทคนิคนี้ จะใช้ได้กับพวกเหยื่อที่ไม่จมน้ำครับ การตีสุ่มเข้าไปในพื้นที่นี้ที่มีสวะนั้น  ตัวเบ็ดของเหยื่อจะไปเกาะเกี่ยวอุปสรรคต่างๆได้ง่ายๆ นักตกปลาก็จะแก้ปัญหานี้เสริมตัวกันสวะเข้าไปที่ตัวเบ็ดเพื่อให้ปัญหาตัวเบ็ดไปเกาะเกี่ยวอุปสรรคหรือสวะลดน้อยลงไป ข้อดีหลักๆของเหยื่อประเภทนี้ตีปลาสุ่มก็คือโอกาสติดสวะหรืออุปสรรคมีน้อย และเวลาที่ปลาฮุบเหยื่อแล้วโอกาสได้ปลา ก็มีสูง
เหยื่อตกปลาชะโดอื่นๆ เช่น เหยื่อสดต่างฯเป็นเหยื่อเช่น ใส้สารพัด  ใส้ปลาทู หมักเลือด   ตับไก่สด  ปลาแร่สด อาจจะมีการอ่อยเลือดเพิ่มด้วยก้อได้,  ลูกปลาเป็นๆ  ซี่งมีหลากหลายประเภท อีกเหมือนกัน เช่น ลูกปลาคาร์ป  ปลาดุก ปลาตะเพียน  ปลาไหล  ปลานิล ( บางกรณีพวกปลาหนัง  เช่นปลาดุก  กับปลาไหล  อาจจะมีการใช้มีดกรีดกรีด  ข้างฯตัวปลา  เพื่อให้มีเลือดไหลออกมาอีก  เพื่อเรียกปลา
ตีปลาจิบหรือตีชะโดจิบ
การตีปลาจิบก็คือการเฝ้ามอง จุดๆหนึ่ง ที่ชะโดลอยตัว ขึ้นมาจิบอากาศเหนือผิวน้ำ ก่อนทีจะม้วนตัวดำดิ่งลงสู่พื้นล่าง สิ่งที่เกิดจากการจิบอากาศคือวงกระเพื่อมเป็นวงกลมของผิวน้ำ ทำให้นักตกปลารับรู้ถึงจุดที่ปลาอยู่ การตีปลาจิบนั้นนิยมใช้เหยื่อดำน้ำ จริงๆแล้วการตีปลาจิบใช่ว่าจะใช้เหยื่อผิวน้ำไม่ได้ ใช้ได้เหมือนกันแล้วแต่สถานที่ บางเขื่อน บางอ่าง ใช้เหยื่อผิวน้ำ ตีปลาจิบ มันไม่ชายตาแลเลย ก็ต้องเป็นงานของเหยื่อดำครับ ดำตื้นสังเกตได้จากลิ้นที่ปากเหยื่อจะสั้นๆ ดำลึกสังเกตได้จากลิ้นที่ปากเหยื่อจะค่อนข้างยาว เมื่อไหร่ต้องใช้ดำลึก? เมื่อไหร่ต้องใช้ดำตื้น? ก็ง่ายๆครับ ถ้าน้ำตื้นก็ใช้ดำตื้น  ตัวดำตื้นนี้ใช้ตีปลาจิบ ใกล้ๆฝั่งได้ครับ ส่วนดำลึกก็ใช้ตีปลาจิบบริเวณน้ำลึกครับ เทคนิคคือ ให้สังเกตุบริเวณที่ปลาชะโดขึ้นจิบน้ำบ่อยๆ ตีเบ็ดลงไปที่บริเวณนั้นให้มีเสียงดัง ยิ่ง POP น้ำเสียงดังเท่าไหร่ยิ่งดีครับ เพราะในบางครังถ้า เพราะโดยปกติแล้วนั้นถ้าปลาชะโดไม่หิว มันก็จะไม่กินเหยื่อนะครับ แต่เราตีเหยื่อลงไปบริเวณที่เป็นถิ่นของมัน และส่งเสียงรบกวนตลอดเวลา ปลาชะโดจะทำการขับไล่ โดยการไล่งับ ทันทีครับ
ตีปลาแม่ครอกหรือตีชะโดแม่คลอก
ปลาครอกหรือชะโดแม่คลอก คือพ่อแม่ปลาชะโดที่กำลังเลี้ยงลูกอ่อนหรือลูกตัวแดงๆ  ซึ่งเป็นฤดูผสมพันธ์ของปลาชะโด ซึ่งในช่วงนี้ปลาชะโดช่วงนี้จะมีนิสัยดุร้ายมาก จะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ จึงมักมีผู้ถูกชะโดกัดทำร้ายบ่อย ๆ (ชะโดกัดคนจนใส้แตกก็มี) ซึ่งฤดูผสมพันธุ์ของปลาชะโดจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม-กันยายน
(แนะนำว่าเราไม่ควรจะตกปลาชะโดครอกในช่วงถฤูผสมพนธุ์นะครับ เพราะลูกอ่อนของปลาชะโดนั้น หากไม่มีแม่ปลาคอยดูแลก็จะไม่รอด เพราะศัตรูตามธรรมชาติของลูกปลาชะโดนั้นมีมากมาย เราจึงควรช่วยกันตกปลาอย่างอนุรักษ์สักหน่อยนะครับ จะได้มีปลาไว้ตกกันนานๆ)
คันเบ็ดและรอกที่แนะนำ
คันเบ็ดควรเป็นคันที่มีเวทที่ค่อนข้างกลาง-ใหญ่นะครับ โดยส่วนมากมักใช้เวทประมาณ20-40 LB และรอกควรเป็นรอกที่มีกำลังเบรคสูงๆ และ มีความลื่นค่อนข้างมาก เพื่อให้เราสามารถส่งเหยื่อออกไปให้ถึงจุดที่ปลาขึ้นจิบได้
สายที่ ใช้ ควรทนทานหน่อยนะครับ หากใช้สายเอ็น ก็ควรเลือกที่มีประสิทธิภาพทนแรงดึงกระชากได้ดี หากเลือกเป็นสายPE ก็สามารถใส่ได้ถึง PE3-6 กันเรย  แต่หากเรามีชุดขนาดกลางๆอยู่แล้ว ก็สามารถช้งานได้นะครับ แต่เพียงคุณจัดชุด รอก คัน สาย ให้มีความแหมาะสมกัน ก็เพียงพอแล้วครับ หากปลาใหญ่เข้าฉวย ก็ไม่ต้องกลัวครับ ค่อยๆเล่นค่อยๆประคองไปครับ ใจเย็นๆเดี่ยวปลามันเหนื่อยมันก็ยอมเราเองแหล่ะครับ
เมนูอาหารที่ทำจากปลาชะโด
ปลาชะโดสามารถทำมาทำเป็นเมนูอาหารได้หลายหลายเช่นปลาทั่วไป เช่น ชะโดลวกจิ้ม,ชะโดผัดพริกแกง, ชะโดผัดพริกไทยดำ และอื่นๆอีกสารพัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น