วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

วงศ์ปลาเสือตอ



1. เสือตอปาปัวนิวกินี (Datnioides campbelli)
ขนาด ลำตัวโตเต็มที่ประมาณ 36 ซ.ม. พบในแหล่งน้ำบริเวณชายฝั่งในนิวกินีมี ซี่เหงือกน้อยกว่า ปลาชนิดอื่นๆ ในสกุลเดียวกัน และมีแถบลายที่ไม่ชัดเจน มีแถบขนาดเล็กแทรกระหว่าง แถบที่ 3 ขนาดใหญ่กลางลำตัว และแถบที่ 4 สีค่อนไปทางสีเงิน น้ำตาล จนไปถึงเหลืองอ่อนๆ เกล็ดมีขนาดใหญ่และหยาบ พบได้ในแหล่งน้ำกร่อยปากแม่น้ำ บึงใกล้ชายฝั่งเหนือระดับน้ำขึ้นน้ำลงแถบเกาะปาปัวนิวกีนี ประเทศอินโดนีเซีย

<<<+++++++++++*+*++++++++++++>>>

2. เสือตอลายใหญ่ (Datnioides pulcher)

มี ขนาดลำตัวที่ใหญ่ที่สุด มีลายแถบดำขนาดใหญ่ 5 - 6 เส้น มีสีสันที่สดและสวยที่สุด พบในประเทศไทยและกัมพูชา มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ

<<<+++++++++++*+*++++++++++++>>>


3. เสือตอลายเล็ก (Datnioides undecimradiatus)

ขนาดลำตัวประมาณ 30 ซ.ม. สีออกขาว ลายมีเส้นเล็ก เกล็ดมีขนาดใหญ่กว่าเสือตอลายใหญ่ พบในแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขา

<<<+++++++++++*+*++++++++++++>>>


4. เสือตออินโดนีเซีย (Datnioides microlepis)

ขนาดลำตัวประมาณ 40 ซ.ม. ใกล้เคียงกับเสือตอลายใหญ่ แต่มีสีสันลำตัวและลายที่ไม่สดใสเท่า พบในอินโดนีเซีย

<<<+++++++++++*+*++++++++++++>>>



5. กะพงลาย (Datnioides polota)
ขนาด ลำตัวประมาณ 30 ซ.ม. สีลำตัวออกขาวเหลือบเงิน เส้นลายมีขนาดเรียวเล็กที่สุด พบในบริเวณน้ำกร่อย ปากแม่น้ำ ตั้งแต่อินเดียจนถึงปาปัวนิวกินี

<<<+++++++++++*+*++++++++++++>>>


ส่วนปลาในสกุล Lobotes มีเพียง 2ชนิด คือ

1. กะพงดำ (Lobotes surinamensis)
เป็นปลาน้ำกร่อย มีนิสัยชอบพรางตัวโดยสามารถปรับสีตามสภาพแวดล้อมได้ ลูกปลาวัยอ่อนฟักตัวที่ป่าชายเลน

<<<+++++++++++*+*++++++++++++>>>



2. Lobotes pacificus
คล้ายคลึงกับปลากะพงดำ แต่พบเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิก และมีขนาดเล็กกว่า

<<<+++++++++++*+*++++++++++++>>>


Datnioides undecimradiatus หรือ เสือตอลายเล็ก ครับ ถูกแยกเป็นชนิดต่างหากจาก เสือตอลายใหญ่(และลายคู่) มาเมื่อไม่นานเท่าไรนัก เสือตอลายเล็ก มีอยู่คู่ตลาดปลามานานแล้วครับ เนื่องจากยังพบได้ง่าย และมีจำนวนมากในแม่น้ำโขง ทั้งเขตประเทศไทยและเขมร มีราคาไม่สูงมากครับ หลักร้อย แต่มันจะมีราคาแพงมาก ถ้าเจอปลาที่มีขนาด เกิน 1 ฟุตขึ้นไปครับ เพราะถือเป็น ปลาขนาดยักษ์ สำหรับสปีชีส์นี้แล้วครับ และพบได้ในธรรมชาติแทบทั้งสิ้น ยากนักที่จะเลี้ยงให้โตได้เกิน 1 ฟุตในที่เลี้ยงครับ เรามาดูรายละเอียดของปลาชนิดนี้กัน


อันดับแรกก็คือ ลาย หรือ แถบบนลำตัวนั่นเอง
ก่อน อื่นเรามาทำความเข้าใจร่วมกันก่อนนะครับ ในการแยกชนิดหรือสายพันธุ์ปลาเสือตอนั้น เราใช้แถบบนตัวปลาเป็นหลักสำคัญอันดับ 1 ครับ ปลาทุกตัว จะมีแถบสองแบบ คือ แถบที่เรียกว่า แถบหลัก ซึ่งเป็นแถบที่จะต้องพบบนปลาเสือตอทุกๆตัว ทุกๆชนิดครับ ถึงแม้ว่า บางตัวส่วนน้อย อาจพบแถบหลักที่บิดเบี้ยวผิดส่วนผิดตำแหน่งไปบ้างก็ตาม ส่วนแถบอีกแบบ เราเรียกง่ายๆว่า ลายแซม นั่นเองครับ คือแถบที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากแถบหลักไม่ว่าจะตรงจุดไหน จำนวนเท่าไร หรือลักษณะอย่างไรก็ตาม ทั้งเป็นจุด เป็นแต้ม เป็นขีดสั้นๆ หรือยาวมากๆ ก็ใช่หมดครับ บางตัวก็มี บางตัวก็ไม่มี ลักษณะแตกต่างกันมากมาย
จำนวนลาย
ในการแบ่งของผมนั้น ผมขอแบ่งแถบหลัก ของปลาเสือตอลายเล็กไว้ทั้งหมดจำนวน 6 แถบครับ คือ
  • 1. แถบที่พาดผ่านลูกตา
  • 2. แถบที่พาดผ่านกระพุ้งแก้ม (สร้อย)
  • 3.แถบกลางลำตัวพาดผ่านทวารหนัก
  • 4. แถบที่พาดผ่านก้านครีบก้น
  • 5.แถบที่พาดผ่านเยื่อครีบหลังไปโคนหาง
  • 6. แถบรอยต่อระหว่างเนื้อโคนหางกับเยื่อครีบหาง
ลักษณะ ของลาย ปลาเสือตอลายเล็กนั้น จะมีลายหรือแถบที่มีขนาดความกว้างค่อนข้างแคบ หรือ เล็กสมชื่อนั่นเอง ลักษณะเช่นนี้เลยทำให้พื้นที่สีเหลืองบนตัวปลาแลดูมีขนาดใหญ่ชัดเจนครับ จุดสังเกตุที่สำคัญของเสือตอลายเล็กคือ
1. มันจะมีแถบหลักเพียง 6 แถบตามที่แจ้งไว้ครับ
หมายความว่า ปลาเสือตอลายเล็กนั้นจะไม่มีจำนวนแถบหลักเกินไปกว่านี้แน่นอนครับ ถ้ามีถือว่าแปลกมากๆเลยล่ะครับ
2. ไม่มีความหลากหลายของแถบหลักใดๆทั้งสิ้น
หมาย ความว่า เราจะไม่พบแถบหลักดังกล่าวเปลี่ยนแปลงเป็นแถบลักษณะอื่นๆใดๆ เช่น แถบหลักกลางลำตัว แบ่งออกเป็นสองลายเหมือนเสือตอลายคู่ หรือ แถบตรงคอดหางแบ่งออกเป็นสองลาย เหมือนเสือตอลายใหญ่ 7 แถบ เป็นต้นครับ
3. แถบหลักแถบที่ 5 แยกจากกันเป็นสองส่วน
หมาย ความว่า แถบหลักแถบที่ห้า ตอนบนบริเวณเยื่อครีบหลัง จะแยกขาดออกจากกันเป็นสองตอน จากแถบหลักแถบที่ 5 บริเวณโคนหางครับ เป็นแบบนี้ทุกตัวครับ
4. แถบหลักแถบที่ 1-4 มีขนาดความกว้างใกล้เคียงกันมากๆ
หมาย ความตามนั้นครับ อันนี้ ต้องใช้สายตาสังเกตุครับ จะวัดให้เป๊ะๆให้เท่ากันคงเป็นไปไม่ได้แน่นอนครับ และนี่คือ จุดสำคัญ ในการแยกปลาเสือตอลายเล็ก ออกจากปลาเสือตอลายใหญ่นั่นเองครับ
5. ไม่พบลายแซมที่มีความยาวของลายใกล้เคียงแถบหลัก
หมาย ความว่า ปลาเสือตอลายเล็กนั้น จะมีลายแซมเกิดขึ้นได้ตามปรกติครับ ไม่ว่าจะแซม บริเวณไหนก็ตาม ลายดังกล่าว จะเป็นแค่เศษเสี้ยวเล็กๆ สั้นๆ แคบๆ ไม่มีทางพบลายแซม ซึ่งมีขนาดและความยาวใกล้เคียงแถบหลักเลยแม้แต่น้อยครับ
รูปทรงของลำตัว
เสือตอลายเล็กส่วนใหญ่ จะมีลำตัวที่ผอมเรียวยาว ส่วนสันด้านหน้าจะค่อนข้างลาด ไม่ตั้งชันมากครับ
สี และ เกล็ดบนลำตัวและควมแตกต่างอื่นๆ
ทำ ความเข้าใจตรงกันว่า คำว่าสีนั้น เราจะพูดถึงสีพื้นของลำตัว หรือ บริเวณลำตัวที่ไม่มีลายพาดผ่านนะครับ สีของปลาเสือตอลายเล็กนั้น จะประสบการณ์ที่พบ มีสีที่เกิดขึ้นได้ดังนี้คือ สีน้ำตาล สีเทาคล้ำๆ สีเหลือง(ตั้งแต่สีอ่อนๆไปจนถึงเหลืองสด) แค่นี้ครับ เกล็ดบนลำตัวจะดูหยาบกว่าปลาเสือตอจากเขมรและอินโดนีเซียครับ

<<<+++++++++++*+*++++++++++++>>>

ปลา เสือตอเป็นปลาน้ำจืดที่มีลำตัวกว้างและแบนข้าง พื้นลำตัวสีเหลืองอมน้ำตาล มีแถบสีดำพาดขวางลำตัว 6-7 แถบ หัวแหลม ส่วนหน้าผากลาดลง ปากกว้างและยืดหดได้ จะงอยปากแหลมและยื่นยาว ดวงตากลมมีขนาดใหญ่ เกล็ดค่อนข้างเล็กปลายมีหนาม ครีบหูกลมมน ครีบหลังมีสองส่วนเชื่อมต่อกัน ส่วนหน้ามี 12 ก้าน ครีบแข็งและแหลมคม ส่วนหลังเป็นก้านครีบอ่อน ครีบหางกลมเป็นรูปพัด ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 3 อัน มีลักษณะคล้ายเงี่ยง มีขนาดความยาว 10 - 20 เซนติเมตร ปลาโตเต็มที่อาจจะมีขนาดถึง 40 – 50 เซนติเมตร
ลักษณะ ความสวยงามเฉพาะตัวของปลาเสือตอที่เป็นที่นิยมคือมีรูปทรงที่แบนกว้าง มีพื้นสีเหลืองสดใส มีลายดำพาดขวางลำตัวอย่างได้ส่วน เวลาเคลื่อนไหวครีบบนครีบล่างส่วนท้ายอ่อนพลิ้ว ครีบท้องหรือครีบตะเกียบมีสีเหลืองตัดสีดำเหยียดตรง มีชายพู่ตะเกียบ 3-4 เส้น ดูสง่างามโดยเฉพาะเวลาตามเหยื่อ หนามแข็งส่วนหน้าของครีบจะชี้ตัวขึ้น ครีบหนามล่างจะเหยียดลงทำให้ดูสวยงาม เป็นที่ต้องการของกลุ่มรักปลาสวยงานประเภทล่าเหยื่อ และโดยปกติปลาเสือตอชอบอาศัยดักเหยื่ออยู่ตามแหล่งน้ำที่มีตอไม้ และด้วยลักษณะของสีสรร ที่คล้ายกับเสือ จึงได้ชื่อว่า "ปลาเสือตอ"
ปลา เสือตอสามารถวางไข่โดยวิธีธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้การฉีดฮอร์โมนเข้าช่วย ช่วงการวางไข่ประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ปลาเสือตอเพศผู้จะมีขนาดโตเต็มวัยเมื่อมีน้ำหนักประมาณ 300-400 กรัม ส่วนปลาเสือตอเพศเมียขนาด 800 กรัมจะได้วัยเจริญพันธุ์ ไข่ปลาเสือตอเป็นไข่ประเภทลอยน้ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ใช้เวลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 14-17 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิประมาณ 29 องศาเซลเซียส และถุงอาหารจะยุบภายในเวลา 2-3 วัน อาหารที่เหมาะสมของลูกปลาเสือตอวัยอ่อนควรเป็นแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็ก เช่นโรติเฟอร์ในระยะ 3-10 วันแรก และใช้ไรแดงเลี้ยงอนุบาลจนได้ขนาด 3 เซนติเมตรขึ้นไป จึงใช้หนอนแดงอาร์ทีเมียขนาดใหญ่หรือลูกปลาขนาดเล็กให้กินเป็นอาหาร

<<<+++++++++++*+*++++++++++++>>>

3 ตัวนี้คือกระพงลาย

<<<+++++++++++*+*++++++++++++>>>
3 ตัวนี้คือเสือตอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น