- ปลาหมอไทย
- ชื่อสามัญ Climbing perch
- ชื่อวิทยาศาสตร์ Anabas testudineus
- ชื่อไทย ปลาหมอ เข็ง สะเด็ด อีแกบูยู
ปลา หมอสามารถปรับตัวเจริญเติบโตเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำกร่อยที่มีความ เค็มไม่เกิน 7 ส่วนในพันได้ ปลาหมอไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า ปลาเข็ง ภาคเหนือเรียกว่า สะเด็ด ภาคใต้ตอนล่างเรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกบูยู ชาวบ้านทั่วๆไปเรียกว่า ปลาหมอ พบมากในแถบจีนตอนใต้ อินโดจีน ไทย มลายู พม่า อินเดีย ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย
รูปร่างลักษณะภายนอก
ปลา หมอไทยมีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำหรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน ลักษณะเด่นคือ มีเกล็ดแข็งห่อหุ้มตัวโดยตลอด ดวงตากลมโต ปากแยงขึ้นเล็กน้อย กระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยักแหลมคมใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำ ฟันค่อนข้างแหลมคม เมื่อโตเต็มที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ลำตัวกว้างสักสามนิ้วมือเรา ยาวประมาณ 10-15 ซม
ลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศ
ปลาหมอไทยเพศเมียจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่า เพศผู้ เพศผู้มีลักษณะลำตัวเรียวยาว ในระยะฤดูวางไข่ส่วนท้องของปลาเพศเมียจะอูมเป่ง
ปลา หมอเป็นปลาที่กินสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ชอบกินอาหารที่ผิวน้ำและกลางน้ำ และยังสามารถกิน เมล็ดข้าว ธัญพืช ปลวก ตัวอ่อนแมลงน้ำ ตั๊กแตน กุ้งฝอยหรือลูกปลาเล็กปลาน้อยที่มีชีวิตหรือตายเป็นอาหาร
ปลาหมอไทย เนื้อปลาจะหวานมันเป็นพิเศษ ในช่วงเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนกุมภา พันธุ์
ใน ตลาดสดขายประมาณกิโลกรัมละ 40-50 บาท แล้วแต่ขนาดตัวปลาและแหล่งที่ขาย ถ้าเป็นตามต่างจังหวัดก็ถูกหน่อย และหาซื้อกินได้ง่าย แต่ในกรุงเทพจะเห็นมีเป็นบางตลาดเท่านั้น อย่างตลาดสะพานสูงตรงบางซื่อ ที่แม่ค้าจากจังหวัดนครปฐม และอยุธยา รับปลามาขาย ตลาดสะพานสอง ก็มีเป็นบางวัน
(ต้มส้มปลาหมอ)
วิธี
การกินปลาหมอแบบที่อร่อยและทำง่าย
กินกันมานมนานแต่โบราณก็คือเพียงเอามาปิ้ง มาย่างทั้งเกล็ด ด้วยเตาถ่าน
ใช้ไฟอ่อนๆ ไม่นานเกินรอ ก็ได้กินปลาหมอย่างร้อนๆ
กินทั้งเนื้อทั้งเกล็ดก็ยิ่งอร่อย แต่อย่ากินเพลินจนก้างติดคอ
เพราะปลาหมอไทยมีก้างเยอะพอๆ กับปลาตะเพียนเลยทีเดียว
หรือเอาปลาหมอไปทำกับข้าวจานเด็ดอย่าง ฉู่ฉี่ปลาหมอ แกงส้มปลาหมอ
ต้มส้มปลาหมอ หรือจะบั้งถี่ๆ ทอดกรอบกินทั้งเนื้อ ทั้งก้าง
ก็อร่อยไปอีกแบบ
<<<++++++++++*+*+++++++++>>>
- ปลาหมอตาล
- ชื่อวิทยาศาสตร์ Helostroma temmincki
- ชื่อสามัญ Temminck's kissing
- ชื่อไทย ปลาหมอตาล อีตาล ใบตาล วี ปลาจูบ
- อุปนิสัย
สามารถผุดขึ้นมาอุบอากาศเหนือผิวน้ำโดยตรงนอกเหนือจากการหายใจด้วยเหงือกตามปกติ
- ความสำคัญ
- รูปร่างลักษณะ
ปลา หมอตาลขนาด 15 เซนติเมตรขึ้นไปจึงเห็นความแตกต่างของเพศชัดเจน ปลาตัวเมียจะมีก้านครีบอ่อนอันแรกเป็นเส้นยื่นยาวกว่าก้านครีบอันอื่นๆ ท้องนิ่มอูมป่องทั้งสองข้างก้านครีบอ่อนแรกของตัวผู้ไม่เป็นเส้นยื่นยาว เอามือลูบท้องไปทางรูก้นเบาๆจะมีน้ำเชื้อสีขาวคล้ายน้ำนมไหล ตัวผู้มีสีเข้มกว่าตัวเมีย ในชั่วชีวิตหนึ่งๆสามารถวางไข่ได้ถึง 5 ครั้ง ตามธรรมชาติปลาวางไข่ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคม ปีละครั้ง
อาหารธรรมชาติกินพรรณไม้น้ำ แมลงน้ำ
การ จูบกันเองของปลาชนิดนี้นั้น เป็นการขู่ และข่มกัน ก่อนจะเกิดการต่อสู้ครับ หรือถ้าตัวไหนยอมแพ้ตั้งแต่จูบกัน ก็จะถอยไปเอง นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
<<<++++++++++*+*+++++++++>>>
- ปลาหมอช้างเหยียบ
- ชื่อสามัญ : Striped Tiger Nandid
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pritolepis fasciatus
- ชื่อไทย : ปลาหมอโค้ว ปลาก่า ตะกรับ โพรก หน้านวล หมอน้ำ ปาตอง
ลักษณะทั่วไป
เป็น ปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีรูปร่างป้อมเป็นรูปไข่หรือกลมรี
ลำตัวด้านข้างแบน พื้นลำตัวสีเขียวหรือน้ำตาลปนเหลือง
(ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม) มีเกล็ด ปกคลุมทั่วตัว
มีแถบสีดำพาดขวางลำตัวประมาณ 8-12 แถบ แถบนี้จะเห็นชัดขณะที่ปลายังเล็ก
หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กยืดหดได้เล็กน้อย มีฟันซี่เล็ก ๆ
เป็นแถวอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง
รูจมูกแยกจากกันอย่างเด่นชัดและอยู่ชิดกับตา
ครีบหลังมีสองส่วนเชื่อมติดกันเป็นแนวยาว
ส่วนหน้าเป็นก้านเดี่ยวมีลักษณะเป็นหนามแหลมคม ส่วนหลังเป็นครีบอ่อน
ครีบก้นใหญ่มีก้านครีบแข็งและมีลักษณะแหลมคม ครีบหางใหญ่ ปลายหางมนกลม
มีขนาดความยาว 5 - 20 เซนติเมตร- นิสัย : มีนิสัยก้าวร้าว หวงถิ่น มักกัดทำร้ายกันเอง
- ถิ่นอาศัย :แหล่งน้ำนิ่งในประเทศไทย และเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศไทย พบตามลำคลอง หนอง บึงทุกภาค
- อาหาร : ไข่ปลาทุกชนิด ลูกกุ้ง ลูกปลา แมลงน้ำ
การสังเกตเพศ
- ปลาตัวผู้จะมีปลายครีบที่ยาวและชี้แหลมกว่าตัวเมียช่วงใกล้ฤดูผสมพันธุ์เวลา รีด ท้องจะมีน้ำเชื้อสีขาวขุ่นไหลออกมาส่วนตัวเมียเวลารีดท้องจะมีไข่ไหลออกมา รูทวาร
- แพร่พันธุ์ โดยวางไข่เกาะติดตามวัสดุใต้น้ำ วางไข่ครั้ง ละไม่ต่ำกว่า 1,000 ฟอง ขึ้นไปจนถึงหลายหมื่นฟอง ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของแม่ปลา
<<<++++++++++*+*+++++++++>>>
- ปลาหมอจำปะ
มี ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบได้เฉพาะในป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ที่เดียวเท่านั้น ในต่างประเทศพบกระจายไปทั่วแหลมมลายูไปถึงหมู่เกาะซุนดา
ใน ประเทศอินโดนีเซีย จัดเป็นปลาที่พบได้น้อย มีพฤติกรรมการวางไข่โดยใช้การก่อหวอดและตัวผู้เป็นผู้ดูแลไข่และตัวอ่อน เหมือนปลากัด ปลาตัวผู้มีครีบอกเรียวยาวและมีประแต้มบนครีบ ส่วนตัวเมียครีบจะสั้นกว่าจะไม่มีลวดลาย
(Belontia signata)
อนึ่ง ปลาในวงศ์ Belontiinae นั้น มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้น อีกชนิดหนึ่ง คือ Belontia signata (Günther, ค.ศ. 1861) พบในประเทศศรีลังกา มีขนาดเล็กกว่าคือ โตเต็มที่ประมาณ 18 เซนติเมตร
<<<++++++++++*+*+++++++++>>>
ผิดพลาดประการใดช่วยชี้แนะด้วยครับ ขอบคุณครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น