เป็นชื่อปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์
ย่อยปลาตะเพียน ปลาพลวง Cyprininae - Cyprinini
เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
และเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอีกด้วย
โดยเฉลี่ยมักมีขนาดประมาณ 1.5 เมตร แต่พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร หนักได้ถึง
150 กก. ในอดีต เกล็ดปลากระโห้สามารถนำมาทอดรับประทานเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อ
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Catlocarpio siamensis มีลักษณะสำคัญคือ ส่วนหัวโต ปากกว้าง ตาเล็ก ไม่มีหนวด ปลาวัยอ่อนหัวจะโตมากและลำตัวค่อนไปทางหาง ทำให้แลดูคล้ายปลาพิการไม่สมส่วน ขอบฝาปิดเหงือกมนกลมและใหญ่กว่าปลาชนิดอื่น ๆ ครีบหลังและครีบหางใหญ่ มีเกล็ดขนาดใหญ่ปกคลุมลำตัว บนเพดานปากมีก้อนเนื้อหนา เหงือกมีซี่กรองยาวและถี่มาก ตัวมีสีคล้ำอมน้ำเงินหรือน้ำตาลเข้ม ครีบมีสีแดงเรื่อ ๆ ด้านท้องมีสีจาง พบเฉพาะในแม่น้ำสายใหญ่ ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำโขง ปลาวัยอ่อนมักอยู่รวมเป็นฝูงในวังน้ำลึก ปัจจุบันลดจำนวนลงไปมากเรื่องจากปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและการถูกจับเป็น จำนวนมาก จัดอยู่ในสถานภาพเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่ง ปัจจุบัน ปลาชนิดนี้สามารถเพาะพันธุ์ได้แล้วเป็นบางส่วนจากการผสมเทียม ในธรรมชาติจะแพร่พันธุ์ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน โดยจะวางไข่ลอยไปตามกระแสน้ำ ไข่มีสีเหลืองอ่อนลักษณะกึ่งลอยกึ่งจม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.4 มม.ปริมาณไข่จะมีจำนวนมากนับล้าน ๆ ฟอง แต่ไข่ส่วนใหญ่และลูกปลาจะถูกปลาอื่นจับกินแทบไม่มีเหลือ
อาหาร ของปลากระโห้คือ แพลงก์ตอนและปลาขนาดเล็ก แต่ก็สามารถกินพืชเช่น สาหร่ายหรือเมล็ดพืชได้ ปลากระโห้นอกจากนำมาทำเป็นอาหารโดยการปรุงสดแล้ว ยังสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย นอกจากชื่อกระโห้แล้ว ในภาษาอีสานจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า "คาบมัน" หรือ "หัวมัน" ภาษาเหนือเรียกว่า "กะมัน" ที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย เรียกว่า "ปลาสา"
++++++++++++++++++++++++++++++
- 2.) ปลายี่สก
พบ
ตามแหล่งน้ำใหญ่ของภาคกลาง ภาคเหนือและอีสาน เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำน่าน
แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง ปลายี่สก
มีชื่อเรียกแตกต่างออกไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น " เอิน " หรือ " เอินตาแดง "
ในภาคอีสาน " ยี่สกทอง " หรือ " อีสก " หรือ " กะสก " ในแถบแม่น้ำน่าน
และที่จังหวัดเชียงรายเรียกว่า " ปลาเสือ " เป็นต้น
เป็น ปลาที่มีรสชาติอร่อยมาก เป็นของขึ้นชื่อของจังหวัดต่าง ๆ ริมน้ำ เช่น ที่จังหวัดกาญจนบุรี หรือราชบุรี โดยเฉพาะที่กาญจนบุรีป้ายชื่อถนนต่าง ๆ ในเขตอำเภอเมืองทำเป็นรูปปลาชนิดนี้เลยทีเดียว ปลายี่สกมีราคาขายสูงถึงกิโลกรัมละ 80-100 บาท มีหนังหนา เนื้อเหลือง ละเอียดอ่อน นิ่ม รสหวาน ประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ต้มยำ ต้มเค็ม แกงเหลือง ทอดมัน ทอดฟู นึ่ง รมควัน เจี๋ยน นึ่งกับเครื่องปรุงแบบจีน ชุบแป้งทอดรับประทานได้อร่อยเช่นกัน
ด้วย เหตุนี้ จึงทำให้ ยี่สกกลายเป็นปลาที่อยู่สถานะใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ แต่ปัจจุบันกรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ได้ด้วยการผสมเทียม สำเร็จขึ้นในปี พ.ศ. 2517 และสนับสนุนให้เลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ด้วย
ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Probarbus labeamajor อยู่
ในวงศ์ปลาตะเพียน(Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Cyprinini
มีรูปร่างคล้ายปลายี่สก ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน (Genus)
แต่มีรูปร่างป้อมสั้นกว่า จำนวนแถบมีขนาดเล็กกว่าและมีมากกว่าถึง 5 - 6 แถบ
ใต้คางมีเนื้อเป็นติ่งเล็ก ตอนกลาง ขอบตาเป็นสีขาว อันเป็นมาของชื่อ
พบเฉพาะในแม่น้ำโขงที่เดียวเท่านั้น จัดเป็นปลาที่หายากมาก
ใกล้สูญพันธุ์เต็มที่ปลาเอินตาขาว ยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า " เอินคางมุม "
ปลาเอินฝ้าย
ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Probarbus labeaminor
จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน วงศ์ย่อย Cyprininae - Cyprinini
มีรูปร่างคล้ายปลายี่สกและปลาเอินตาขาว ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน (Genus)
แต่ไม่มีแถบตามแนวยาวลำตัว และมีครีบที่ขนาดใหญ่กว่าทั้ง 2
ชนิด(Cyprinidae)นั้น
++++++++++++++++++++++++++++++
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cirrhinus microlepis
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน(Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Labeonini
มีรูปร่างลำตัวเรียวยาวทรงกระบอก หัวโต ปากและตาเล็ก เกล็ดเล็ก
ปลาในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีหัวและลำตัวสีเงินอมเหลืองทอง
ส่วนปลาในลุ่มแม่น้ำโขงจะ เป็นสีชมพู ครีบหลังยกสูง ครีบหางเว้าลึก
ครีบก้นเล็ก อาหารได้แก่ อินทรียสาร สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก แพลงก์ตอน
และแมลงต่าง ๆ มีขนาดประมาณ 46 ซ.ม. พบใหญ่สุด 69 ซ.ม. น้ำหนัก 5 ก.ก.
นวลจันทร์ มีพฤติกรรมวางไข่ในแหล่งน้ำหลากและเลี้ยงตัวอ่อนจนน้ำลดลงจึงอพยพลงสู่แม่ น้ำ เป็นปลาที่หายาก ปัจจุบันเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจากแม่น้ำเจ้าพระยา และยังพบได้บ้างที่แม่น้ำโขง นวลจันทร์มีชื่อเป็นภาษาอีสานว่า " พอน "
++++++++++++++++++++++++++++++
เป็นชื่อของปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epalzeorhynchos chrysophekadion เดิม (Labeo chrysophekadion)
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Labeonini
มีรูปร่างป้อม แต่หลังป่องออก ครีบหลังสูง ไม่มีก้านครีบแข็ง
มีหนวดค่อนข้างยาว 2 คู่และมีติ่งเล็ก ๆ เป็นชายครุยอยู่รอบบริเวณริมฝีปาก
เกล็ดเล็กมีสีแดงแซมอยู่ในแต่ละเกล็ด ครีบหางเว้าลึก
ลำตัวสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม อันเป็นที่มาของชื่อ
ในปลาวัยอ่อนบริเวณโคนหางมีจุดดำเด่น เมื่อโตขึ้นมาจะจางหาย
มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 ซ.ม.มัก หากินตามพื้นท้องน้ำ โดยการแทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่าย พบในแม่น้ำขนาดใหญ่และแหล่งน้ำนิ่งต่าง ๆ ทั่วประเทศ ยกเว้นภาคใต้ บริโภคโดยการปรุงสด เช่น ลาบหรือน้ำยา เนื่องจากเป็นปลาขนาดใหญ่มีเนื้อมาก และยังทำเป็นปลาร้าได้อีกด้วย อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ปลากาดำ ยังมีชื่อที่เรียกแตกต่างออกไปตามภาษาถิ่น เช่น เพี้ย ในภาษาเหนือ อีตู๋ หรือ อีก่ำ ในภาษาอีสาน
++++++++++++++++++++++++++++++
- 5.)ปลาบัว
เป็น ปลาที่พบน้อย พบตั้งแต่แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำโขง พบได้น้อยที่แม่น้ำเจ้าพระยาบัว มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า " หว้าซวง " หรือ " ซวง "
++++++++++++++++++++++++++++++
- 6.) ปลาหว้าหน้านอ
ปลา วัยอ่อน โคนหางจะมีจุดสีดำเห็นได้ชัด เมื่อโตขึ้นจะจางหาย ริมฝีปากหนา หากินบริเวณพื้นน้ำและแก่งหินที่น้ำไหลเชี่ยว โดยแทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่าย บริเวณที่ปลาหากินจะเห็นเป็นรอยทางยาว โตเต็มที่ได้กว่า 60 ซ.ม.
อาศัย อยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ในประเทศ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน ในเขตจังหวัดกาญจนบุรีเรียกปลาชนิดนี้ว่า "ปลางา" และภาษาอีสานเรียกว่า "หว้าซวง" ปัจจุบัน พบหาได้ยากในธรรมชาติ แต่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว เนื้อมีรสชาติอร่อย นิยมปรุงสด และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
++++++++++++++++++++++++++++++
- 7.) ปลาพลวง
อาศัย
อยู่เป็นฝูงใหญ่นับ 100 ตัวขึ้นไป ตามแม่น้ำขนาดใหญ่ที่มีน้ำใสสะอาด เช่น
บริเวณแหล่งน้ำเชิงภูเขา หรือตามลำธารน้ำตกต่าง ๆ ทั่วประเทศ อาหารได้แก่
เมล็ดพืชต่าง ๆ เป็นปลาใหญ่ที่มักไม่มีใครนำมารับประทาน
เนื่องจากทานไปแล้วเกิดอาการมึนเมา จึงเชื่อว่าเป็นปลาเจ้า แต่ความจริงแล้ว
ปลาชนิดนี้ได้สะสมพิษจากเมล็ดพืชที่รับประทานเข้าไปในร่างกาย
เช่นเดียวกับกรณีของปลาบ้า
มีการรวบรวมลูกปลาจากธรรมชาติเพื่อขายส่งเป็นปลาสวยงาม
ปลา
พลวง มีชื่อเรียกต่างออกไปตามภาษาถิ่นเช่น ภาคเหนือเรียก " พุง " หรือ "
มุง " บางพื้นที่เรียกว่า " จาด " หรือ " โพ " หรือ " พลวงหิน " เป็นต้น
และมีชื่อเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า " ยะโม "
++++++++++++++++++++++++++++++
- 8.) ปลาเวียน
อาศัย ตามแหล่งน้ำสะอาดตามต้นน้ำลำธาร มีพฤติกรรมในอพยพย้ายถิ่นลงมาทางปากน้ำในฤดูฝน ตามรายงานพบว่า ปลาที่อาศัยในแม่น้ำแม่กลอง เมื่อถึงฤดูฝนจะว่ายตามกระแสน้ำลงไปจนถึงปากนี้ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า " ปลาเหล แม่น้ำ " นานประมาณ 4-8 สัปดาห์ จากนั้นจะหวนกลับไปยังต้นน้ำ แสวงหาสถานที่อันเหมาะสมเพื่อผสมพันธุ์ จะวางไข่ในช่วงเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม
เคยเป็นปลาที่ขึ้นชื่อของ จังหวัดเพชรบุรี เพราะเนื้อนุ่มละเอียด มีไขมันสะสมในเนื้อเยอะ ซึ่งปัจจุบันพบได้น้อย จนแทบกล่าวได้ว่าหมดไปแล้ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ถูกทำลาย
++++++++++++++++++++++++++++++
- 9.)ปลาบ้า
ปลา
บ้า อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำโขง แม่น้ำน่าน แม่น้ำมูล รวมถึงลำธารในป่าดงดิบ
มักอยู่รวมเป็นฝูง โดยปลาชนิดนี้จะกินลูกลำโพงเข้าไป แล้วสะสมพิษในร่างกาย
เมื่อมีคนนำไปกินจึงมีอาการมึนเมา อันเป็นที่มาของชื่อ
จึงไม่เป็นที่นิยมรับประทานมากนัก แต่ที่มาเลเซียนิยมรับประทานมาก
จนได้ชื่อว่า " ปลาสุลต่าน " มีฤดูวางไข่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกัน
ปลา
บ้า ยังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไป เช่น ปลาไอ้บ้า ปลาพวง ในภาษาอีสานเรียกว่า
ปลาโพง นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยมีชื่อเรียกว่า
"แซมบ้า"
++++++++++++++++++++++++++++++
- 10.) ปลากระสูบ
กระสูบจุด ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hampala dispar
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Systomi
มีลักษณะรูปร่างค่อนข้างยาว แบนข้างเล็กน้อย หัวยาว ปากกว้างมาก มีหนวดสั้น
1 คู่ที่ริมฝีปาก ครีบหลังค่อนข้างเล็ก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดค่อนข้างใหญ่
ตัวมีสีเงิน ด้านหลังสีคล้ำอมน้ำตาล ด้านท้องสีจาง
ด้านข้างลำตัวมีจุดสีคล้ำข้างละหนึ่งดวง ครีบมีสีแดงเรื่อ
ครีบหางมีสีแดงไม่มีแถบสีคล้ำ พบทุกภาคของประเทศ
และพบได้ถึงมาเลเชียและบอร์เนียว มีขนาดประมาณ 25 ซ.ม. พบใหญ่สุด 35 ซ.ม.
เป็นปลานักล่า กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร บริโภคโดยปรุงสด และทำปลาร้า ปลาส้ม นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
กระสูบขีด ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hampala macrolepidota อยู่
ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Systomi
มีรูปร่างคล้ายกระสูบจุด (Hampala dispar)
แต่ด้านข้างลำตัวมีแถบขวางบริเวณใต้ครีบหลังลงมาถึงท้อง ในปลาขนาดเล็กมีแถบ
2 แถบที่กลางลำตัวและโคนหาง และมีแถบใต้ตาด้วย ครีบมีสีคล้ำแดงเรื่อ
ขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีแถบสีคล้ำ
มีขนาดใหญ่กว่ากระสูบจุดซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน (Genus) คือ
สามารถยาวได้ถึง 30 ซ.ม. หรือ 60 ซ.ม.
พบมากในแม่น้ำโขง และพบบ้างในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะพบได้มากกว่ากระสูบจุด
เป็น
ปลากินเนื้อ จัดเป็นปลานักล่าชนิดหนึ่ง มักไล่จับปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาซิว
ปลาวัยอ่อน รวมถึงแมลงน้ำต่าง ๆ ทั้งแม่น้ำและหนองบึง
เป็นที่นิยมของนักตกปลาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นโดยใช้เหยื่อปลอม
บริโภคด้วยการปรุงสด หรือทำปลาร้า ปลาส้ม เป็นต้น
และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย
กระสูบขีดมีชื่อเรียกทางภาษาถิ่นอีสานว่า "สูบ", "สูด", "สิก" หรือ "ขม"
เป็นต้น
++++++++++++++++++++++++++++++
- 11.) ปลาตะกาก
เป็น ปลาที่พบได้ตามแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลางและภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล เป็นต้น เป็นปลาเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของภาคอีสาน นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดหรือทำปลาร้า จัดเป็นปลาที่มีราคาสูงชนิดหนึ่ง แต่ต่ำกว่าปลาตะโกก เพราะเนื้อแข็งกว่า
พบ
เลี้ยงเป็นปลาสวยงามเป็นบางครั้ง ถูกเรียกในตลาดปลาสวยงามว่า "
กระมังครีบสูง " ตะกาก มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า " ปากบาน " หรือ "
โจกเขียว "
++++++++++++++++++++++++++++++
- 12.) ปลาตะโกก
พบ
ในลุ่มแม่น้ำใหญ่ในภาคกลางและภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำโขงและสาขา รวมทั้งแหล่งน้ำขนาดใหญ่เช่น
บึงบอระเพ็ดด้วยเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง
เนื่องจากเป็นปลาขนาดใหญ่ เนื้ออร่อย จึงมีราคาค่อนข้างสูง
นิยมบริโภคโดยการปรุงสด เช่น ต้มยำ เป็นต้น
ตะโกก
มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า " โจก " ปัจจุบัน กรมประมงสามารถ
เพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้โดยการฉีดฮอร์โมนแล้วผสมเทียมวิธีแห้ง
สีของไข่มีสีเหลืองน้ำตาล ลักษณะเป็นไข่แบบครึ่งจมครึ่งลอย
และส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++
- 13.) ปลาตะพาก
อาศัย
อยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วและว่ายน้ำเคลื่อนไหวตลอดเวลา
ขยายพันธุ์โดยการวางไข่ระหว่างเดือนมีนาคม-ตุลาคม ไข่มีลักษณะกึ่งลอย
กึ่งจม การวางไข่ครั้งหนึ่งจะมีปริมาณไข่นับเป็นแสน ๆ ฟอง
และมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์หมู่
อาศัย
ในแม่น้ำสายใหญ่ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงแม่น้ำโขง
เป็นปลาเศรษฐกิจ นิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน และต้มเค็ม
และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ตะพากมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า กระพาก,
พาก, สะป๊าก, ปากคำ, ปากหนวด, ปีก เป็นต้น
ตะพากยังเป็นชื่อเรียกของปลาที่ลักษณะใกล้เคียงกันชนิดอื่นอีก 8 ชนิดด้วย (ในตาราง) ยกตัวอย่าง เช่น
ตะพากปากหนวด ตะพากชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus vernayi
มีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงตะพากชนิดแรก
แต่ต่างกันตรงที่ครีบก้นไม่ยาวถึงโคนหางเหมือนตะพากชนิดแรก
ครีบและหางเป็นสีแดงเข้มหรือสีส้ม และถิ่นที่อยู่พบในภาคอีสาน ภาคเหนือ
และภาคกลางแถบ จังหวัดเพชรบุรี, ราชบุรี พบน้อยกว่าตะพากชนิดแรก
คือพบเป็นบางฤดูกาลเท่านั้น ตะพากชนิดนี้มีชื่อเรียกในเขตแม่น้ำน่านว่า "
ปีกแดง "
ตะพากส้ม ตะพากชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus malcolmi มี
รูปร่างและขนาดใกล้เคียงตะพากชนิด Hypsibabus wetmorei
แต่ต่างกันตรงที่ครีบก้นมีลักษณะโค้งเหมือนเคียว
ครีบและหางเป็นสีแดงหรือสีส้ม รูปร่างอ้วนป้อมกว่า พบบ่อยในแม่น้ำโขง
และแม่น้ำแม่กลอง ตะพากชนิดนี้มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น " จาด " เป็นต้น
ตะพากสาละวิน ตะพากชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus salweenensis มีขนาดเล็กกว่าตะพาก 2 ชนิดแรก กล่าวคือ มีขนาดประมาณ 20-40 ซ.ม. มีความแตกต่างคือ ครีบหลังยกสูง มีก้านครีบแข็งที่อันที่ 2 หยักที่ขอบด้านท้าย ครีบก้นสูงและมีฐานครีบสั้น เกล็ดไม่มีสีเหลืองเหมือนตะพาก 2 ชนิดแรก มีพฤติกรรมที่ไม่ทราบแน่นอนและพบเฉพาะลุ่มน้ำสาละวินในภาคตะวันตกเท่านั้น
++++++++++++++++++++++++++++++ตะพากสาละวิน ตะพากชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus salweenensis มีขนาดเล็กกว่าตะพาก 2 ชนิดแรก กล่าวคือ มีขนาดประมาณ 20-40 ซ.ม. มีความแตกต่างคือ ครีบหลังยกสูง มีก้านครีบแข็งที่อันที่ 2 หยักที่ขอบด้านท้าย ครีบก้นสูงและมีฐานครีบสั้น เกล็ดไม่มีสีเหลืองเหมือนตะพาก 2 ชนิดแรก มีพฤติกรรมที่ไม่ทราบแน่นอนและพบเฉพาะลุ่มน้ำสาละวินในภาคตะวันตกเท่านั้น
- 14.) ปลาซิวอ้าว
ขนาด
โตเต็มที่ประมาณ 30 ซ.ม. มักอาศัยเป็นฝูงเล็ก ๆ หากินใกล้ผิวน้ำ
กินปลาเล็กและแมลงเป็นอาหาร ส่วนมากพบในแม่น้ำ
ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองจนถึงแม่น้ำโขง มักบริโภคโดยการปรุงสด และทำปลาร้า
และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย
ซิวอ้าว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น นางอ้าว, อ้ายอ้าว
++++++++++++++++++++++++++++++
- 15.) ปลาสะนาก
เป็น
ปลากินเนื้อ มักอยู่รวมเป็นฝูงเล็ก ๆ หากินบริเวณผิวน้ำ ล่าเหยื่อได้แก่
ปลาขนาดเล็ก กุ้ง ปู ต่าง ๆ เป็นปลาที่มีความว่องไว
ปราดเปรียวมากและว่ายน้ำเคลื่อนไหวตลอดเวลา มีรูปร่างคล้ายปลาแซลม่อน
(Salmon) ในต่างประเทศ จึงได้ฉายาจากนักตกปลาว่า " แซลม่อนเมืองไทย "
อาศัย
อยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ในภาคเหนือ ภาคกลางและอีสาน มีชื่อเรียกต่างออกไปเช่น
มะอ้าว ในภาษาไทยใหญ่ น้ำหมึกยักษ์, นางอ้าว, อ้าว, ดอกหมาก,
ปากกว้างและจิ๊กโก๋ในภาษาอีสาน เป็นปลาเศรษฐกิจที่พบบ่อยในบางฤดูกาล
บริโภคโดยการปรุงสด
และมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่มีพบขายในตลาดปลาสวยงามบางครั้งด้วย
++++++++++++++++++++++++++++++- 16.) ปลาฝักพร้า
เป็น
ปลาล่าเหยื่อ มักหากินบริเวณใกล้ผิวน้ำ เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็วมาก
อาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็กจำพวกปลาซิวและแมลง
พบในแหล่งน้ำหลากและแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลาง ภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำโขง ในภาคใต้พบเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกเท่านั้น
เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำสะอาด ปัจจุบันอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์
(Endangered)
เพราะสภาพแวดล้อมที่อยู่ถูกทำลายไปประกอบกับปริมาณปลาที่พบในธรรมชาติมีน้อย
มาก จึงไม่ทำให้เป็นที่นิยมในการประมง
ฝักพร้ายังมีชื่อเรียกอื่นที่เรียกต่างออกไป เช่น ท้องพลุ, ดาบลาว, ดาบญวน,
โกร๋ม เป็นต้น
++++++++++++++++++++++++++++++
- 17.) ปลาแปบควาย
ชนิดแรก แปบควาย ท้องพลุ Paralaubuca harmandi มี
รูปร่างยาว ลำตัวแบนข้างมาก ปากเล็ก ตาโต ท้องเป็นสันคม
ด้านท้องค่อนข้างกว้างออก ครีบอกยาว ครีบหางเว้าลึก
เกล็ดเล็กละเอียดสีเงินแวววาว เส้นข้างลำตัวไม่ต่อเนื่องกัน ขนาดโดยเฉลี่ย
15 ซ.ม. มักอยู่เป็นฝูงใหญ่
มีการอพยพขึ้นล่องตามแม่น้ำเพื่อวางไข่และหากินเป็นฤดูกาล
มักอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลเชี่ยว หากินใกล้ผิวน้ำ
พบตั้งแต่แม่น้ำโขงถึงแม่น้ำเจ้าพระยา
กินแมลงหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร
ชนิดที่สอง Paralaubuca typus มีรูปร่างและพฤติกรรมคล้ายคลึงกับชนิดแรก ต่างกันที่มีลำตัวสั้นกว่า
ชนิดที่สาม แปบ Paralaubuca riveroi มีความคล้ายคลึงชนิดที่สอง
ปลา
แปบทั้ง 3 ชนิด ถูกจับขึ้นมาเพื่อทำปลาแห้ง ปลาร้า และบริโภคโดยปรุงสด
อีกทั้งยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย แปบควายมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า "
ท้องพลุ " และในภาษาอีสานเรียกว่า " แตบ "กะแตบ " แตบขาว " หรือ " มะแปบ "
เป็นต้น++++++++++++++++++++++++++++++
- 18.) ปลาตะเพียน
ปลา
ตะเพียนชนิดนี้นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี
และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลาตะเพียนใบลาน
มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี
และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย บอร์เนียว อินโดนีเซีย
แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม
ขนาดโดยเฉลี่ย 36 ซ.ม.
พบ
ชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน เป็นปลากินพืช แมลง
สัตว์หน้าดิน บริโภคโดยการปรุงสด โดยเฉพาะตะเพียนต้มเค็ม หรือปลาส้ม
นับว่าเป็นตำรับที่มีชื่อมากของปลาชนิดนี้ แต่เป็นปลาที่มีก้างมาก
นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย
โดยเฉพาะเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บ
ตะไคร่น้ำและปรสิตในตู้
ปลาตะเพียนชนิดนี้มีชื่อเรียกอื่นอีกเช่น " ตะเพียนขาว " หรือ " ตะเพียนเงิน " ภาคอีสานเรียกว่า " ปาก "
ปลาตะเพียนชนิดนี้มีชื่อเรียกอื่นอีกเช่น " ตะเพียนขาว " หรือ " ตะเพียนเงิน " ภาคอีสานเรียกว่า " ปาก "
++++++++++++++++++++++++++++++
- 19.) ปลากระมัง
พบในแม่น้ำและแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศ นิยมบริโภคเหมือนปลาตะเพียนทั่วไป และพบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย
กระมัง
ยังมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ ด้วย เช่น " มัง "
ที่บึงบอระเพ็ด " วี " ที่เชียงราย " เหลี่ยม " หรือ " เลียม " ที่ปากน้ำโพ
ขณะที่ภาคใต้เรียก " แพะ " และภาคอีสานเรียก " สะกาง "
++++++++++++++++++++++++++++++
- 20.) ปลากระแห
พบ
อาศัยอยู่เป็นฝูงในแม่น้ำและหนองบึงทุกภาคของประเทศไทย
หรือตามหน้าวัดที่อยู่ติดริมแม่น้ำต่าง ๆ
โดยมักจะอาศัยอยู่รวมกับปลาตะเพียน ตะเพียนทอง แก้มช้ำ
หรือปลาในตระกูลปลาตะเพียนชนิดอื่นด้วยกันเสมอ
นิยม
บริโภคโดยการปรุงสด รมควัน ตากแห้ง ทำปลาร้า ปลาส้ม
และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย กระแห ยังมีชื่ออื่น ๆ อีกว่า "กระแหทอง"
หรือ "ตะเพียนหางแดง" ในภาษาอีสานเรียก "ลำปำ" ในภาษาใต้เรียก "เลียนไฟ"
ภาษาเหนือเรียก "ปก" เป็นต้น
++++++++++++++++++++++++++++++
- 21.) ปลาปากเปี่ยน
มี
ขนาดประมาณ 15 ซ.ม. ใหญ่สุดที่พบคือ 25 ซ.ม.
เป็นปลาที่พบเฉพาะในแม่น้ำโขงตั้งแต่จังหวัดหนองคายลงมา
เป็นปลาเศรษฐกิจในภาคอีสาน นิยมบริโภคโดยการปรุงสด ทำปลาร้า และรมควัน
เป็นต้น
และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วยที่มีพบขายในตลาดปลาสวยงามเป็นบางครั้ง
เพราะเป็นปลาที่พบตามฤดูกาล
ปากเปี่ยน ยังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไปว่า " ตาดำ "
++++++++++++++++++++++++++++++
- 22.)หนามหลัง
- ชื่อทั่วไป = ปลาหนามหลัง.
- ขนาด = 20 ซม.
- แหล่งที่พบ = แม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยา พม่า อินโดนีเซีย ลาว และ กัมพูชา
- อาหาร = เป็น Omnivores. คือ พืช และ สัตว์(แมลงน้ำ)
ลักษณะเด่นๆของปลาหนามหลังชนิดนี้คือ
- 1) ครีบหลังมีเส้นรอบนอกเป็นสีดำ.
- 2) จำนวนเกล็ดเส้นข้างลำตัว = 24-26
- 3) ฐานของเกล็ดลำตัวมีสีดำ
++++++++++++++++++++++++++++++
- 23.) ปลาไส้ตันตาขาว
มัก
อาศัยอยู่เป็นฝูงเล็กๆ พบได้ตามแม่น้ำ หนองบึง และแหล่งน้ำนิ่งของภาคกลาง
ภาคเหนือ และอีสาน เป็นปลาที่พบชุกชุมเช่นเดียวกับไส้ตันตาแดง
ไส้ตันตาขาวมีชื่อที่เรียกต่างออกไป เช่น ที่จังหวัดพะเยาเรียกว่า " แพ็บ "
เป็นต้น
++++++++++++++++++++++++++++++
- 24.) ปลาไส้ตันตาแดง
มัก
อาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ในแม่น้ำและแหล่งน้ำทั่วประเทศ
ปรับตัวแพรพันธุ์ได้เร็วในอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ เป็นปลาที่พบชุกชุม
นำมาแปรรูปเป็นปลาร้า เป็นปลาราคาถูก และใช้เลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ไส้ตัน
ตาแดง มีชื่อที่เป็นภาษาถิ่นที่เรียกต่างออกไปอีก เช่น " แม่สะแด้ง "
ในภาษาอีสาน " หญ้า " ในภาษาใต้ และมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า " ตะเพียนทราย "
หรือ " สร้อยหางแดง " เป็นต้น
++++++++++++++++++++++++++++++
- 25.) ปลาตุ่ม หรือ ตุม
เป็น
ปลาที่พบได้น้อย โดยจะพบแต่เฉพาะภาคใต้เท่านั้น ที่สามารถพบชุกชุมได้แก่
ทะเลสาบสงขลาตอนในที่เป็นส่วนของน้ำจืด
ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วโดยกรมประมง
++++++++++++++++++++++++++++++
- 26.) ปลาเพ้า
++++++++++++++++++++++++++++++
- 27.) ปลาสะอี
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mekongina erythrospila
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Garrae
มีลักษณะทรงกระบอก หัวเล็ก ตาโต จงอยปากงุ้มลง ริมฝีปากมีหนวดสั้น 1 คู่
ครีบหลังสั้น ไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหางเว้าลึก สีลำตัวเป็นสีเขียวมะกอก
หากินตามพื้นท้องน้ำ โดยแทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่าย ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 45
ซ.ม. นิยมบริโภคโดยการปรุงสด เป็นปลาที่พบเฉพาะแม่น้ำโขงและ แม่น้ำสาขา
เท่านั้น
มีพฤติกรรมอพยพย้ายถิ่นขึ้นสู่ตอนบนของแม่น้ำในช่วงฤดูน้ำหลากเพื่อวางไข่
และมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปลาสะอี ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น
"ปลาชะอี","ปลาหว่าชะอี" หรือ "ปลาหว่าหัวแง่ม"
++++++++++++++++++++++++++++++
- 28.) ปลาตะเพียนหน้าแดง
ปลา
มีลักษณะลำตัวเรียวยาว เกล็ดสีเงิน มีแถบสีแดงสะท้อนแสงพาดจากหัว ผ่านตา
ไปสิ้นสุดที่กลางลำตัว
และมีเส้นดำพาดตลอดความยาวลำตัวอยู่ใต้แถบแดงอีกทีหนึ่ง
ปลาชนิดนี้สามารถโตได้สูงสุดประมาณ 15 เซนติเมตร ปลาตะเพียนหน้าแดง
ตามธรรมชาติอาศัยอยู่ในภูมิอากาศกึ่งร้อน โดยมีอุณหภูมิน้ำอยู่ระหว่าง 15
ถึง 25 °C ค่า pH ในช่วง 6.8-7.8 และมีความกระด้าง 5-25 dGH
ปลาตะเพียนหน้าแดง
ปลาตะเพียนหน้าแดง
ใน
ตอนแรกมีการจัดอนุกรมวิธานเป็น Labeo denisonii โดย F. Day เมื่อ ค.ศ. 1865
มีชื่อเรียกอื่นได้แก่ Barbus denisonii, Crossocheilus denisonii และ
Barbus denisoni
ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่เพิ่งนำมาเลี้ยงเป็นงานอดิเรกได้ไม่นาน
ปลาตะเพียนหน้าแดงเป็นปลาที่อยู่รวมกันเป็นฝูง ค่อนข้างสงบ
แต่บางตัวอาจดุเล็กน้อย
บางครั้งอาจสับสนปลาชนิดนี้กับปลาอีกชนิดที่มีลักษณะใกล้เคียงคือ Puntius
chalakudiensis ซึ่งสีสันไม่สดเท่า โตเต็มที่มีขนาดใหญ่กว่า และดุกว่า
++++++++++++++++++++++++++++++
- 29.) ปลาเล็บมือนาง
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crossocheilus reticulatus
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Garrae
มีรูปร่างลำตัวเพรียว หัวเล็ก
ปากเล็กอยู่ด้านล่างของจงอยปากและมีแผ่นหนังคลุม มีหนวดสั้น 1 คู่
เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินอมเหลือง มีลายสีคล้ำที่ขอบเกล็ด
โคนครีบหางมีจุดสีดำเห็นชัดเจน ครีบใสสีเหลืองเรื่อ มีขนาดความยาวประมาณ
8-10 ซ.ม. ใหญ่สุด 17 ซ.ม.
มี
พฤติกรรมอยู่เป็นฝูงใหญ่ตามแก่ง ช่วงฤดูฝนมีการย้ายถิ่นเข้าสู่ทุ่งน้ำหลาก
อาหารได้แก่ ตะไคร่น้ำ แพลงก์ตอน และสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก
อาศัยตามแม่น้ำสายหลักและแก่งแหล่งน้ำหลาก เล็บมือนาง
ยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า " สร้อยดอกยาง "
- 1. แถบดำข้างตัวเป็นเส้นซิกแซกตามแนวเกล็ดยาวผ่ากลางครีบหาง
- 2. แนวเกล็ดเหนือแถบดำเป็นลายร่างแห
- 3. ครีบใสไม่มีสี
- 4. ปากเป็นปากดูด
- เป็นปลาที่พบบ่อย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
++++++++++++++++++++++++++++++
- 30.) ปลาจิ้งจอก
เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crossocheilus siamensis
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Garrae
มีรูปร่างลำตัวเพรียวทรงกระบอก หัวเรียว ตาเล็ก ปากเล็ก มีหนวดสั้น 1 คู่
มีแผ่นหนังคลุมด้านริมฝีปากบน ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนเหลือบทอง
และมีแถบสีคล้ำพาดยาวจากหัวถึงกลางครีบหาง ครีบสีจาง ครีบหางเว้าลึก
มีขนาดความยาวประมาณ 10-15 ซ.ม. ใหญ่สุด 16 ซ.ม.
มี พฤติกรรมอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ในแม่น้ำสายใหญ่และลำธาร โดยเฉพาะที่เป็นแก่งและมีพรรณไม้หนาแน่น ในเมืองไทยพบเฉพาะที่ภาคใต้ที่เดียวเท่านั้น กินอาหารได้แก่ อินทรียสารและสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก เป็นปลาที่พบชุกชุมบางฤดูกาล พบมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามบ้าง
มี พฤติกรรมอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ในแม่น้ำสายใหญ่และลำธาร โดยเฉพาะที่เป็นแก่งและมีพรรณไม้หนาแน่น ในเมืองไทยพบเฉพาะที่ภาคใต้ที่เดียวเท่านั้น กินอาหารได้แก่ อินทรียสารและสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก เป็นปลาที่พบชุกชุมบางฤดูกาล พบมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามบ้าง
- 1. แถบดำข้างตัวเป็นแถบเรียบขอบคมชัดยาวหมดแค่โคนหาง
- 2. เหนือแถบดำมักเป็นเส้นสีเหลือง ไม่มีลายร่างแห
- 3. ครีบมักมีแถบสีเหลืองตามขอบครีบ
- 4. ปากเล็กไม่เป็นปากดูด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น