วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

วงศ์ปลาช่อน


++

  • ปลาช่อน
  • ชื่อสามัญ STRIPED SNAKE-HEAD FISH
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ Channa striata
  • อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae)


ปลา น้ำจืดชนิดหนึ่ง มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นทแยงสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว 6 - 7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้ำมีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30 - 40 ซ.ม. ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร โดยปลาช่อนสปีชีส์นี้ มีความพิเศษไปกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ คือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนมาได้เป็นแรมเดือน โดยสะสมพลังงานและไขมันไว้ ที่เรียกว่า " ปลาช่อนจำศีล " พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย พบไปจนถึงเอเชียใต้ พม่าและอินโดนีเซีย นิยมนำมาบริโภค ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายทั้งสดและตากแห้ง เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญจนอาจเรียกได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอันดับ หนึ่ง


เลี้ยง ได้ทั้งในบ่อและกระชังตามริมแม่น้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก (Albino) หรือปลาที่พิการตัวสั้นกว่าปกติ (Short Body)


ปลาช่อนในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดสิงห์บุรี ขึ้นชื่อมาก ที่เรียกว่า "ปลาช่อนแม่ลา" มีประเพณีพื้นถิ่นคือเทศกาลกินปลา


ปลาช่อน มีชื่อเรียกตามภาษาถิ่นในแต่ละภาคว่า " หลิม " ในภาษาเหนือ " ค้อ " หรือ " ก๊วน "ค่อ" ในภาษาอีสาน เป็นต้น

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  • ปลาช่อนข้าหลวง
  • ชื่อสามัญ BLOTCHED SNAKE-HEAD FISH
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa marulioides
  • อยู่ในวงศ์ปลาช่อน Channidae


เป็น ชื่อของปลาช่อนชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายปลาช่อนงูเห่า แต่ลำตัวสั้นป้อมกว่า ลำตัวสีเขียวอ่อน และมีลายสีเหลืองทองส้มสลับกับแต้มสีดำ ครีบมีจุดประสีเหลืองสด ท้องสีจาง


ขนาด โตเต็มที่มีความยาวประมาณ 90 ซ.ม. ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้เท่านั้น และพบในมาเลเซีย มักอาศัยตามแม่น้ำสายใหญ่หรือลำธารขนาดใหญ่ในป่าหรือพรรณไม้ชายฝั่งหนาแน่น โดยจะหลบอยู่ใต้ร่มเงาของไม้นั้น เป็นปลาที่พบได้ไม่ยาก แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าจะนำมาบริโภค และมีราคาขายที่ค่อนข้างสูง ช่อนข้าหลวง ยังมีชื่อที่เรียกกันในเขตจังหวัดนราธิวาสว่า " ช่อนทอง "

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  • ปลาช่อนงูเห่า
  • ชื่อสามัญ GREAT SNAKE-HEAD FISH
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa aurolineatus
  • อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae)


ไม่ จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นปลาหายาก พบไม่บ่อยนักในธรรมชาติ มีลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวมีขนาดเล็กกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ สัลำตัวจะเปลี่ยนไปตามวัยและสภาพแวดล้อม ปกติพื้นลำตัวจะเป็นสีคล้ำเช่น น้ำตาลแกมเขียว หรือสีดำ เมื่อยังเป็นลูกปลาจะมีแถบสีส้มคาดตามความยาวจากหัวจรดโคนหาง โดยบริเวณโคนหางจะมีจุดสีดำล้อมรอบด้วยวงสีส้มสด แลดูคล้ายเครื่องหมายดอกจันทน์ จึงมีอีกชื่อเรียกนึงว่า " ปลาช่อนดอกจันทน์ " เมื่อปลาเริ่มโตขึ้นจะมีแถบดำราว 5-6 แถบคาดขวางลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางท้าย ใต้ท้องสีจาง ลำตัวด้านท้าย ครีบหลัง หาง และครีบท้องจะมีจุดสีตะกั่วเหลือบแวววาวกระจายอยู่ทั่ว


ปลา ช่อนชนิดนี้ มีขนาดโตเต็มที่ราว 40-90 ซ.ม. มีรูปร่างเรียวยาวกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ ประกอบกับส่วนหัวที่เล็ก ทำให้แลดูคล้ายงูเห่า จึงเป็นที่มาของชื่อ " ปลาช่อนงูเห่า " เมื่อชาวบ้านจับปลาชนิดนี้ได้ บางคนไม่กล้ากินเนื่องจากเชื่อว่าเป็นปลาช่อนผสมงูเห่า มีพิษร้ายแรงกว่างูเห่าทั่วไป แต่ความเป็นจริงแล้ว ช่อนงูเห่าไม่ได้มีพิษแต่อย่างใด


มี การกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้าง โดยพบตั้งแต่ปากีสถาน อินเดีย พม่า ตอนใต้ของจีน ไทย กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเชีย และคาดว่าอาจจะมีในรัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาด้วย


พฤติกรรม มักอยู่อาศัยตามแม่น้ำชายฝั่งที่มีพืชน้ำและพรรณไม้ขึ้นชายฝั่งมีเงาร่ม อาหารได้แก่ ปลา กุ้ง สัตว์น้ำขนาดเล็กและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก เช่น กบ เขียด รวมถึงแมลงชนิดต่าง ๆ ด้วย
อุปนิสัยเป็นปลาที่ค่อนข้างดุ ร้ายก้าวร้าว โดยมักจะกบดานตัวนิ่ง ๆ กับพื้นท้องน้ำหรือไม่ก็ลอยตัวอยู่ปริมน้ำ เมื่อพบอาหารจะพุ่งฉกด้วยความเร็วและดุดัน
ปลาช่อนงูเห่า นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่มีขายในตลาดปลาสวยงามเป็นบางครั้ง มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นต่าง ๆ เช่น " หลิมหางกวั๊ก " ที่ จ.แม่ฮ่องสอน " ก้วน " ในภาษาเหนือและภาษาอีสาน " ล่อน ", " กะล่อน " หรือ " อ้ายล่อน " ในภาษาใต้ เป็นต้น


อนึ่ง มีปลาช่อนอยู่ชนิดหนึ่งที่มีรูปร่าง ลักษณะที่คล้ายคลึงกับปลาช่อนงูเห่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa marulius หรือ Channa marulia มีถิ่นอาศัยในภูมิภาคเอเชียใต้ ไม่พบในประเทศไทย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกัน


โดย มีชื่อเรียกในวงการปลาสวยงามว่า " ปลาช่อนงูเห่าอินเดีย " แต่ตามแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ในปัจจุบัน มักจะให้ปลาช่อนงูเห่าที่พบในประเทศไทยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับปลา ช่อนงูเห่าที่พบในประเทศอินเดีย

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  • ปลาช่อนดำ
  • ชื่อสามัญ Black snakehead
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa melasoma
  • อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae)


มี รูปร่างเหมือนปลาช่อน (Channa striata) แต่ลำตัวผอมเพรียวกว่า หัวโต ตาสีดำ ตามตัวไม่มีลวดลาย สีลำตัวสีเขียวอมม่วง ครีบท้อง ครีบหาง และครีบหลังมีสีคล้ำมีขลิบขาวที่ครีบท้อง ขนาดโตเต็มที่ได้ 30 เซนติเมตร กินปลาขนาดเล็ก ลูกกุ้ง และสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ต่าง ๆ


ใน ประเทศไทยพบได้เฉพาะป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส และแม่น้ำโกลก ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่มาเลเซีย, สิงคโปร์ไปจนถึงอินโดนีเซีย ปลาช่อนดำมีชื่อเรียกเฉพาะในแวดวงปลาสวยงามว่า "ปลาช่อนเจ้าฟ้า"

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  • ปลาก้าง
  • ชื่อสามัญ RED-TAILED SNAKEHEAD
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa limbata


มี รูปร่างคล้ายปลาในวงศ์นี้ทั่วไป แต่มีส่วนหัวมนกลมและโตกว่า ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำเงินคล้ำ และมีลายประหรือจุดสีคล้ำ ท้องสีจาง โคนครีบอกมีลายเส้นสีคล้ำเป็นแถบ 4-6 แถบ ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีสีเทาหรือน้ำเงินเรือ ขอบมีสีส้มหรือสีจาง โดยปลาในแต่ละถิ่นจะมีสีสันแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมที่อาศัย


มี การกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้างนับจากอินเดีย บังคลาเทศ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พม่า ไทย มาเลเซีย อินโดนีเชีย บาหลี โดยอาจพบได้ถึงต้นน้ำหรือลำธารบนภูเขา


ปลา ก้าง จัดว่าเป็นหนึ่งของปลาวงศ์นี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด กล่าวคือ มีขนาดโตเต็มที่ได้ไม่เกิน 1 ฟุต นับเป็นปลาที่พบได้ทุกแหล่งน้ำของประเทศ โดยอาจจะเรียกชื่อเพี้ยนไปตามถิ่นว่า "กั๊ง" หรือ "ขี้ก้าง" มีพฤติกรรมการวางไข่โดยตัวผู้เป็นผู้อมไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน ปลาก้างยังถือเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่ไม่มีการเลี้ยงในเชิงพาณิชย์เหมือนปลาช่อนชนิดอื่น และยังพบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย


อนึ่ง นี้ยังมีปลาอีกชนิดหนึ่งที่มีขนาด รูปร่างที่คล้ายคลึงกับปลาก้างมาก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa gachua แต่ไม่พบในประเทศไทย โดยปลาก้างชนิดนี้พบในภูมิภาคเอเชียใต้ แต่ข้อมูลปัจจุบันหลายแห่งมักจะใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาก้างที่พบในประเทศ ไทย เป็นปลาก้างชนิดนี้

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  • ปลากระสง
  • ชื่อสามัญ Blotched snake-head fish
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa lucius
  • อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae)


มี รูปร่างคล้ายปลาช่อน (Channa striata) แต่มีส่วนหัวที่แบนกว่า จะงอยปากงอนขึ้นเล็กน้อย และมีรูปร่างที่ป้อมสั้นกว่า สีสันบริเวณลำตัวเป็นสีเขียวมะกอกมีลวดลายคล้ายลายไม้ ลูกปลาขนาดเล็กมีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูง มีลายแถบดำพาดตามแนวนอนตลอดตัว มีสีแดง


มี ความยาวเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร พบได้ในแหล่งน้ำนิ่งและแหล่งน้ำขนาดใหญ่รวมถึงในบริเวณพื้นที่ป่าพรุด้วย ทั่วประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน


นิยมเอามาบริโภคสดและตากแห้งเหมือนปลาในวงศ์ปลาช่อนทั่วไป อีกทั้งสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้
ปลากระสง ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น " กระจอน " ในภาษาอีสาน " ช่อนไช " ในภาษาใต้


กระสงน้อย

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  • ปลาชะโด
  • ชื่อสามัญ Gian snacke-head fish
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa micropeltes
  • อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae)


โดย ชะโดจัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร หนักถึง 20 ก.ก. มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลมยาว พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว มีลายประสีดำกระจายทั่วตัว ภายในปากมีฟันแหลมคม เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด เมื่อเริ่มโตขึ้นมาสีและลายจะเริ่มจางหายไปกลายเป็นสีเขียวอมน้ำตาลคล้ายสี ของเปลือกหอยแมลงภู่แทน


โดย การที่สีของปลาเปลี่ยนไปตามวัยนี้ ชะโดจึงมีชื่อเรียกต่างออกไปตามวัย เมื่อยังเป็นลูกปลาจะถูกเรียกว่า "ชะโด" หรือ "อ้ายป๊อก" เมื่อโตเต็มที่แล้วจะถูกเรียกว่า "แมลงภู่" ตามสีของลำตัว


นอก จากจะเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้แล้ว ยังมีอุปนิสัยดุร้ายมากที่สุดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้ซึ่งเป็นผู้ดูแลไข่และลูกอ่อน จะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ จึงมักมีผู้ถูกชะโดกัดทำร้ายบ่อย ๆ ในช่วงนี้ ฤดูผสมพันธุ์ของปลาชะโดจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม-กันยายน รังมีการตีแปลงใกล้ชายฝั่ง เรียกว่า "ชะโดตีแปลง"


เป็น ปลาที่พบได้ทุกภาคของประเทศ และพบในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเชีย ตอนใต้ของจีน และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วย


ชะโด มีการเลี้ยงในกระชังตามแม่น้ำสายใหญ่เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา สะแกกรัง และอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี มักจะบริโภคด้วยการทำเป็นปลาเค็มและตากแห้งมากกว่าปรุงสด เพราะเนื้อแข็งและมีก้างเยอะ นอกจากเป็นปลาเศรษฐกิจแล้ว ยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะลูกปลา พบมีขายในตลาดปลาสวยงามบ่อย ๆ และมีราคาถูก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น