วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

วงศ์ปลากราย




  • ปลากราย
  • ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala ornata (เดิม Notopterus chitala)
อยู่ ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในปลาวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินและมีจุดกลมใหญ่สีดำขอบขาวที่ฐานครีบก้นตั้งแต่ 3 - 20 ดวง ซึ่งมีจำนวนและขนาดแตกต่างกันออกไปในแต่ละตัว มีขนาดโดยเฉลี่ย 60 ซ.ม. ใหญ่สุดที่พบคือ 1 เมตร หนัดถึง 15 ก.ก.



มัก อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กพบในแหล่งน้ำทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำทั่วประเทศไทย แต่ปัจจุบันพบน้อยลงมาก ปลากรายนับเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภค โดยเฉพาะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตทอดมันหรือลูกชิ้น ราคาขายในตลาดจึงสูง ส่วนบริเวณเชิงครีบก้น เรียกว่าเชิงปลากราย ก็เป็นส่วนที่นิยมรับประทานโดยนำมาทอด แม้ว่าเนื้อจะมีก้างมาก แต่ก็เป็นที่นิยมเพราะมีรสชาติอร่อย นอกจากใช้เป็นอาหารแล้ว ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น เลี้ยงในท้องร่องสวน

และ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ที่เลี้ยง ง่าย อดทน และจะมีราคาแพงยิ่งขึ้นในตัวที่จุดเยอะ หรือตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก (Albino) หรือสีทอง ขาว (Platinum) หรือในตัวที่เป็นปลาพิการ ลำตัวสั้นกว่าปกติ (Short Body) มีชื่อเรียกอื่น เช่น " หางแพน " ในภาษากลาง " ตอง " ในภาษาอีสาน " ตองดาว " ในภาษาเหนือ เป็นต้น
++++++++++++++++++++++++++++++++



  • ปลาตองลาย
  • ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala blanci (เดิม Notopterus blanci)
อยู่ ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีรูปร่างเหมือนปลาทั่วไปในวงศ์นี้ แต่มีส่วนหลังและหน้าผากลาดชันน้อยกว่าปลากราย สีลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ลำตัวด้านท้ายมีลายจุดและขีดจำนวนไม่แน่นอนคาดเฉียงค่อนข้างเป็นระเบียบ มีขนาดประมาณ 60 ซ.ม. ใหญ่สุด 1 เมตร



พบ เฉพาะแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาที่ไหลสู่แม่น้ำโขง โดยมีรายงานพบเมื่อปี พ.ศ. 2510 และมีรายงานพบที่แม่น้ำน่านด้วยเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งถือว่าเป็นมีแค่เพียงสองแหล่งนี้ในโลกเท่านั้น

เป็นปลาที่หายากชนิดหนึ่ง แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

++++++++++++++++++++++++++++++++


  • ปลาสะตือ
  • ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala lopis (เดิม Notopterus borneensis)
อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีรูปร่างคล้ายปลากราย แต่ท้ายทอยเว้าลึกและลำตัวมีเกล็ดละเอียดกว่า โคนครีบอกมีแต้มคล้ำ และข้างลำตัวมีจุดประสีคล้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวประมาณ 60 ซ.ม. พบใหญ่สุดได้ถึง 1.5 เมตร นับเป็นปลาชนิด (Species) ที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้

นับ เป็นปลาที่หายากอีกชนิดหนึ่ง ในประเทศไทยพบอาศัยเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น คือ แม่น้ำตาปี แม่น้ำโขง พบน้อยที่แม่น้ำเจ้าพระยาและสาขา ในต่างประเทศพบที่มาเลเซีย บอร์เนียว โดยอาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็ก ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม


มีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น " ตองเเหล่ " ในภาษาอีสาน " สือ " ในภาษาใต้ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า " ตือ " เป็นต้น

++++++++++++++++++++++++++++++++


  • ปลาสลาด
  • ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Notopterus notopterus
อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างไม่เกินลูกตาเหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ พื้นลำตัวมีสีเรียบ ยกเว้นปลาวัยอ่อนจะมีลายบั้งเหมือนปลากรายวัยอ่อน มีขนาดประมาณ 20 - 30 ซ.ม.


จัด เป็นปลาที่เล็กที่สุดในสกุลนี้ (Genus) พบในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่งทั่วประเทศไทย เป็นปลาที่หาง่าย มักอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ อาหารได้แก่ ลูกกุ้ง ลูกปลา สัตว์น้ำขนาดเล็ก เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง และนิยมนำเนื้อไปทำทอดมันแทน เนื้อปลากรายซึ่งมีราคาแพงกว่าได้

นอก จากนี้ยังแปรรูปเป็นอาหารอื่น ๆ ได้อีก เช่น ลูกชิ้นสับนก หรือรมควัน เป็นต้น และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีก โดยเฉพาะปลาที่กลายสีเป็นสีเผือก (Albino)


ปลาสลาด ยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น " ตอง " " ฉลาด " หรือ " ตองนา " เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น